ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร กรณีศึกษาสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ธีรพงษ์ วงศ์ปัน
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานสรรพสามิต จังหวัดชลบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดชลบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดชลบุรี และ (4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดชลบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดชลบุรีจำนวน ทั้งหมด 173 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด 121 คน โดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิมีแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว,ทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดชลบุรี มีคุณภาพชีวิตการทำงานต่ำกว่าร้อยละ 80 โดยมีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.40 (2) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดชลบุรีพบว่าบุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาขั้นสูงสุด ระดับสถานภาพการสมรส ระดับรายได้ต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน (3) ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านแรงจูงใจและปัจจัยด้านองค์กร ที่มีต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดชลบุรี พบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ในระดับที่น้อย โดยมีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ 0.29 และปัจจัยด้านองค์กรมีความสัมพันธ์ในระดับ ปานกลาง โดยมีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ 0.42 และ (4) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดชลบุรี พบว่า ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม มีความคิดเห็นว่าควรปรับปรุงมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านโอกาสพัฒนาความสามารถของบุคลากร ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ด้านเคารพในสิทธิ เสรีภาพของบุคลากรและมีความยุติธรรม ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ และด้านผลประโยชน์เกื้อกูล ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร ศรีโนเรศน์. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน). (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

กัลยา ดิษฐ์เจริญ. (2538). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับกลางในอุตสาหกรรมขนาดกลาง เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จีระ หงส์ลดารมย์. (2533). ผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจไทย. วารสารคน.1 (4): 27–28.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2536). พฤติกรรมในองค์การ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

เชี่ยวชาญ อาศวัฒนกุล. (2530). มิติใหม่ของการบริหารงานบุคคลในภาครัฐบาล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ทองศรี กาภู ณ อยุธยา. (2532). การบริหารบุคคลในแนวทางใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพรัตน์ รุ่งอุทัย. (2533). มิติใหม่ของแผนพัฒนาบุคลากร. จุฬาลงกรณ์วารสาร. (กรกฎคม–ธันวาคม): 203.

บุญเจือ วงษ์เกษม. (2529–2530). คุณภาพชีวิตการทำงานกับการเพิ่มผลผลิต. วารสารเพิ่มผลผลิต. 26 (ธันวาคม – มกราคม): 20.

บุญแสง ชีระภากร. (2533). การปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงาน. จุลสารพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (มกราคม–มีนาคม): 6–12.

ปวันรัตน์ ตนานนท์. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ผดาพร เหมบุตร. (2543). คุณภาพชีวิตการทำงาน. วารสารนักบริหาร. (ตุลาคม–ธันวาคม): 66.

ผุสดี เบญจกุล. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานกลาง การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546-2550. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร.

มนัสวี ธาดาสีห์. (2539). การเพิ่มผลผลิตกับคุณภาพชีวิตการทำงาน. วารสารเพื่อการเพิ่มผลผลิต 1 (กันยายน–ตุลาคม): 28.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดตรัง. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานของลูกจ้างชั่วคราวรายปีกรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง.

ข้าราชการพลเรือน. สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล. (2549). คู่มือการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

วรวุฒิ แก้วทองใหญ่. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัดมหาชน สำนักงานใหญ่. (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.

Walton, R.E. (1973). Quality of life: What is it? Slone Management Review 15th (September): 11–21.