รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ในการยกระดับความรู้สู่ความเข้าใจการเมืองและประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ

Main Article Content

ไพศาล บรรจุสุวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดเรียนการสอนในรายวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้นในประเด็นการเมืองและประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ และ 2) เพื่อจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกในการยกระดับความรู้สู่ความเข้าใจการเมืองและประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบระหว่างประชาธิปไตยแบบไทยกับประชาธิปไตยแบบสากล โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีทั้งเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิจัยเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามกับนักศึกษารายวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ภาคการศึกษาที่ 1/2559 ดำเนินการวัดระดับความรู้ความเข้าใจผู้เรียนทั้งก่อนและภายหลังการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกใน 4 รูปแบบ คือ 1) การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) การสอนแบบมอบหมายการจัดทำรายงานค้นคว้าศึกษาในประเด็นทางด้านการเมืองและประชาธิปไตยเป็นรายกลุ่ม 3) กรณีศึกษาจากคลิปวิดีโอเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองและประชาธิปไตย และ 4) การระดมสมองและการเปิดอภิปรายในชั้นเรียนอย่างเปิดกว้างสร้างสรรค์ ผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกทั้ง 4 รูปแบบต่างสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยแบบไทยกับประชาธิปไตยแบบสากล โดยรูปแบบกรณีศึกษาจากคลิปวิดีโอเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการยกระดับความรู้ความเข้าใจ สะท้อนให้เห็นจากการที่ผู้เรียนเข้าใจถึงเส้นแบ่งระหว่างประชาธิปไตยทั้งสองแบบได้ดีซึ่งจำแนกความแตกต่างระหว่างประชาธิปไตยทั้งสองแบบด้วยแนวคิดเรื่องการรัฐประหารกับการเลือกตั้ง โดยมองว่าการทำรัฐประหารเป็นสิ่งเลวร้ายสำหรับประชาธิปไตยแบบสากลที่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งในฐานะเงื่อนไขอันจำเป็น และเห็นว่าเพียงแค่มีการเลือกตั้งอย่างเดียวยังไม่ใช่เงื่อนไขที่เพียงพอสำหรับประชาธิปไตยแบบสากล ขณะที่ในมุมมองประชาธิปไตยแบบไทย การรัฐประหารกลับกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้และกลายเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นของประชาธิปไตยแบบไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มนูญ สกุณี. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เกษียร เตชะพีระ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง จากระบอบทักษิณสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549: วิกฤตประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: เอกสารถ่ายสำเนา.

คนึงนิจ วีระปุลลี. (2542). กองทัพบกในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ศึกษาช่วง พ.ศ. 2535-2540. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ไม่ตีพิมพ์), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เคน โรบินสัน และลู อโรนิกา, เขียน, วิชยา ปิดชามุก, แปล. (2559). โรงเรียนบันดาลใจ. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง.

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2559). วัฒนธรรมพีระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยันต์ ไชยพร. (2557). นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใน/กับวิกฤตการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2558). รายงานการวิจัย เรื่อง สุนทรียศาสตร์กับการเมืองภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2558). ประชาธิปไตยในยุคเปลี่ยนผ่าน. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.

ประชา เทพเกษตรกุล. (2535). การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534. (สารนิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พีระวุฒิ สุวรรณประสิทธิ์. (2540). การศึกษาปัจจัยที่เข้าแทรกแซงทางการเมืองไทยโดยการทำรัฐประหารของทหารไทยระหว่าง พ.ศ. 2500-2534. (สารนิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรสังคมศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โยชิฟูมิ ทามาดะ. (2551). ประชาธิปไตย การทำให้เป็นประชาธิปไตยและการออกจากประชาธิปไตยของประเทศไทย, ฟ้าเดียวกัน. 6(4), 98-139.

วิษณุ อาณารัตน์. (2556). เหตุผล/ข้ออ้างในการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549. (ภาคนิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภมิตร ปิติพัฒน์. (2555). บทวิพากษ์ธรรมวิทยาแห่งพลเมืองของประกาศกร่วมสมัยเกษียร เตชะพีระ, ธงชัย วินิจจะกูล และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2551). สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: พี.เพรส.

สุรชาติ บำรุงสุข. (3 มิถุนายน 2559). 2 ปีแห่งการคืนความสุข มองต่างมุม 12 ประการ. มติชนสุดสัปดาห์, 50 – 51.

สุรพล นิติไกรพจน์ และกฤติน ดิ่งแก้ว. (2559). มหาวิทยาลัยไทย: พัฒนาการมหาวิทยาลัยในกำกับและกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และคณะ. (2557). คำและแนวคิดในประชาธิปไตยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท.

อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ. (2558). รัฐราชการไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ปัญหาระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ (2523 – 2531). วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 45 (2), 75 – 104.

อภิชาต ศิริสุนทร. (2552). การรัฐประหาร 19 กันยายนกับอิทธิพลของระบบอำมาตยาธิปไตย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุมาพร อินทะวงค์. (2551). ปัจจัยที่นำมาซึ่งการทำรัฐประหารโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Biech, Elaine. (2015). 101 Ways to Make Learning Active Beyond the Classroom. Hoboken, New York: John Wiley & Sons, Inc.

Crick, Bernard. (2002). Democracy: A Very Short Introduction. Oxford University Press: Oxford.

Dale, Edgar. (1946). Audio-Visual Methods in Teaching. New York: The Dryden Press.

Farrelly, Nicholas. (2013). Why democracy struggles: Thailand’s elite coup culture. Australian Journal of International Affairs, 67 (3), 281-296.

Finer, Samuel E. (1962). The Man on Horseback: The Role of the Military in Politics. New York, Frederick A. Praeger.

Hewison, Kevin and Kengkij Kitirianglarp. (2008). “Thai-Styles Democracy”: The Royalist Struggle for Thailand’s Politics. Paper presented to the Contemporary Thailand Workshop, November 11-12, 2008, FedEx
Global Education Center, University of North Carolina at Chapel Hill.

Zakaria, Fareed. (1997). The Rise of Illiberal Democracy, Foreign Affairs, 76 (6), 22