เรื่องเล่าความสำเร็จการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยกระบวนทัศน์การใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สวนลุงนิล อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

Main Article Content

อธิป จันทร์สุริย์
พิทักษ์ ศิริวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความสำเร็จการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยกระบวนทัศน์การใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง สวนลุงนิล อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นายสมบูรณ์ ศรีสุบัติ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาการศึกษาประวัติชีวิตและเรื่องเล่า โดยการสัมภาษณ์แบบอัตชีวประวัติ (Autobiography) ร่วมกับแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากการวิจัยพบว่า เริ่มจากชีวิตการทำงานที่หลากหลายของลุงนิล พบทั้งปัญหา อุปสรรค จนทำให้ประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ รวมถึงปัญหาหนี้สิน ด้วยพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการทำเกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ ทำให้ลุงนิลเริ่มสนใจศึกษาเรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มลงมือด้วยการปลูกพืชแบบผสมผสาน ไม่ใช้สารเคมี เปลี่ยนมาเป็นทำการเกษตรแบบอินทรีย์ และใช้ EM หรือน้ำจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชแทน ใช้วิธีปลูกพืชห่มดินตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ลุงนิลมุ่งมั่น ตั้งใจ ด้วยการเดินรอยตามพ่อ ทำการเกษตรด้วยความพอเพียง หลังจากนั้น 7 ปี ลุงนิลสามารถปลดหนี้สินได้หมด หลังจากที่ลุงนิลน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำการเกษตรและการดำเนินชีวิตจนประสบความสำเร็จ ทำให้ลุงนิลได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร โดยมีเจตนารมย์ที่จะเผยแผ่ แบ่งปัน และขยายผลแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่เพื่อนบ้าน ชุมชน เกษตรกรในพื้นที่ และผู้ที่สนใจ ลุงนิลเริ่มมีแนวคิดสนใจด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น จึงสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขึ้นในรูปแบบฐานการเรียนรู้ ด้วยการเกษตร การดำรงชีวิตด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข และการจัดการด้านการท่องเที่ยว ทำให้ลุงนิลได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ปี 2553 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรดีเด่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12.

ไชยรัตน์ ปราณีและคณะ.(2551). โครงการวิจัยเอกสาร ชุมชนต้นแบบที่นำแนวพระราชดำริ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เดชา โต้งสูงเนิน. (2543). การบริหารจัดการท่องเที่ยวเกษตร กรณีศึกษา บ้านม่วงคา ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. จาก : www.nesdb.go.th.

ทิพย์สุดา พุฒจรง. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนสลักคอก จังหวัดตราด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(2).

เทพกร ณ สงขลา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการใช้ทรัพยากรเกษตรของชุมชนชน: กรณีศึกษาท่องเที่ยวเชิงเกษตรช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(2).

นภัสนันท์ วินิจวรกิจกุล. (2557). การจัดการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านสาแพะ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. การประชุมวิชาการประจำปี 2557. คณะการจัดการการท่องเที่ยวสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

นิออน ศรีสมยง. (2545). การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวในชนบทและทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2542). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริในวังพัฒนา. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2543). การศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro tourism). กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2551). ความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2559, จากhttp://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000011977

สำนักงานจังหวัดชุมพร กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชุมพร. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดชุมพร พ.ศ.2557-2560 ฉบับทบทวน. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2559, จากhttp://www.chumphon.go.th /2013/page/general_info.

อธิป จันทร์สุริย์. (2558). ความสำเร็จบนฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษาจังหวัดชุมพร. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Jan, H. and S. Karel. (2004). Agrotourism in the context with the rural development. Czech University of life Sciences Praque. Retrieved July 30, 2009, from www.czu.cz.Lamb R. (2008). How Agritourism Works.accessed. Retrieved 6, July, 2009, from http://adventure.howstuffworks.com/agritourism.htm/printable.

Paresh V. Joshi and Milind B. Bhujbal. (2012). Agro-Tourism A Specialized Rural Tourism: Innovative Product of Rural Market. International Journal of Business and Management Tomorrow, 1-12.