ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0

Main Article Content

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์

บทคัดย่อ

ครูในยุคการศึกษาไทย 4.0 ต้องเป็นครูมืออาชีพ โดยมีความรู้ในศาสตร์ด้านเนื้อหาความรู้ในวิชาที่สอน และศาสตร์ด้านการสอน มีความสามารถในการปฏิบัติการสอน ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนได้ดี มีความสามารถในด้าน ICT เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และเป็นผู้ที่พัฒนาความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอจึงจะสามารถพัฒนาผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0 ให้เป็นบุคคลากรของประเทศที่มีศักยภาพเพียงพอในการสร้างนวัตกรรมจนได้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพส่งขายไปยังต่างประเทศเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ การที่จะทำเช่นนี้ได้ผู้เรียนหรือนักเรียนจะต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ การคิดผลิตภาพ การคิดนวัตกรรม ซึ่งเป็นการคิดที่สร้างผลผลิตที่มีความใหม่ ไม่ซ้ำแบบใครและมีความเป็นเชิงบวก นอกจากนี้ยังต้องมีการคิดรับผิดชอบ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำในทุกขั้นตอน ตลอดจนรับผิดชอบต่อผลผลิตที่สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2558). การคิดสร้างสรรค์ในศาสตร์การคิด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2559). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม 6 (1). http://e-jodil.stou.ac.th/Page/ShowPaPer.aspx?idindex=537

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์.(2559). แนวโน้มของหลักสูตรและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 11 (1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2559). การพัฒนาและประเมินความคิดสร้างสรรค์ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29 (1). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมมณี. (2544). ลักษณะการคิด วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2540 ). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด : ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2535). มนุษยสัมพันธ์และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนกับการวัดและประเมินผลการศึกษา ในเอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาและสังคมวิทยาพื้นฐานเพื่อการวัดและประเมินผลการศึกษา (หน่วยที่ 11) นนทบุรี: สาขาวิชา
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์. (2549). มนุษยสัมพันธ์และการทำงานเป็นทีม.ในประมวลสาระชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิตหลักสูตรและการสอน (หน่วยที่ 6) นนทบุรี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

_______. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

_______. (2559). คิดผลิตภาพ สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

_______. (2559). คิดสร้างสรรค์ สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตตยสภา.

Bob Eberle. (1996). Scamper: Creative Games and Activities for Imagination Development. Reproduced with permission of Prufrock Press Inc.

http://realitypod.com/2013/04/top-10-amazing-innovations-of-the-near-future/3/#WEtsdz1FJP3Um7Lz.99 สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558

http://www.most.go.th/main/index.php/org/2945.html#sthash.9wH62LO1.dpuf สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558.

http://www.hongkiat.com/blog/future-classroom-technologies/ สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558.

http://www.eonreality.com/downloads/ สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21stcentury skills: Learning for life in our times. San Francisco: John Wiley & Sons.