สื่อสังคมออนไลน์ แหล่งข่าวยุคดิจิทัล

Main Article Content

พัชราภา เอื้ออมรวนิช

บทคัดย่อ

การสื่อข่าว ถือได้ว่าเป็นหน้าที่หลักของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารต่างๆ ออกสู่สาธารณชน ซึ่งการที่สื่อมวลชนจะทำการสื่อข่าวเพื่อนำเสนอสู่สาธารณชนได้นั้น แหล่งข่าวถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในกระบวนการสื่อข่าวของสื่อมวลชน โดยแหล่งข่าวมีหลายประเภท ซึ่งในปัจจุบันสื่อใหม่อย่างสื่อสังคมออนไลน์ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานของสื่อมวลชนในฐานะแหล่งข่าวจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สื่อมวลชนสามารถเสาะแสวงหาข่าวสารมานำเสนอได้อย่างรวดเร็ว แต่ทั้งนี้การเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นแหล่งข่าวนั้น สิ่งที่สื่อมวลชนควรตระหนักถึงเป็นอย่างยิ่ง คือ ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์นั้น ไม่ใช่ข้อมูลที่มีความถูกต้องเสมอไป มีข่าวลือ ข่าวปลอมแพร่สะพัดอยู่มากมายในโลกของสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นก่อนที่สื่อมวลชนจะนำเสนอข่าวสารนั้นควรมีการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข่าวประเภทอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยเสมอ เพื่อให้การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนยังคงความถูกต้อง และสามารถรักษาความน่าเชื่อถือในฐานะการเป็นสื่อมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล และธัญญนนทณัฐ ด่านไพบูลย์. (2561). ข่าวลวง ปัญหาและความท้าทาย. วารสารวิชาการ กสทช, 174-192.

นฤมล ปิ่นโต. (2559). การผลิตรายการข่าวโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ปุณณรัตน์ พิงคานนท์. (2548). การสื่อข่าวและเขียนข่าวหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(4), 99-103.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2561). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. สักทอง: วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24(พิเศษ), 20-28.

วัฒณี ภูวทิศ. (2560). ผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรายงานข่าวสาร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(7), 135-144.

วัฒณี ภูวทิศ. (2551). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริพร วีระโชติ. (2548). ข่าวขั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สกุลศรี ศรีสารคาม, สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล และบุณยศิษย์ บุญโพธิ์. (2559). การส่งเสริมแนวทางการใช้ ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในกระบวนการรายงานข่าว ในยุคเทคโนโลยีหลอมรวม (รายงานผลการศึกษา). นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2558). การศึกษาเชิงเปรียบเทียบการจัดการเนื้อหาจากผู้รับข่าวสารในกระบวนการสื่อข่าว. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 1(2), 145-166.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2554). สื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าว หลักการและเทคนิค. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร.

โฮเวิร์ด, รอส. (2551). การสื่อข่าวที่ไหวรู้ต่อความขัดแย้ง. (วลักษณ์กมล จ่างกมล, ผู้แปล). ปัตตานี: คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Garcia-Pire, A.J., Kind, H.J. & Sorgard, L. (2012). News Sources and Media Bias. SNF Working Paper, 21(12), 1-27.

Harcup, T. (2009). Journalism principles and practice (2nd edition). London: Sage Publications Ltd.

Williamson, A. (2013). Social Media Guidelines for Parliaments. Retrieved July 16, 2017, from http://www.ipu.org/PDF/publications/SMG2013EN.pdf.