โทษประหารชีวิตกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

Main Article Content

สรายุทธ ยหะกร

บทคัดย่อ

     ปัจจุบันสังคมไทย เกิดความแตกต่างทางความคิดในเรื่องโทษประหารชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการมีโทษประหารชีวิต กับ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการมีโทษประหารชีวิตและต้องการให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างมีเหตุผลสนับสนุนความคิดของตัวเอง
     โดยฝ่ายที่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิตส่วนใหญ่ได้ให้เหตุผลว่า เนื่องจากผู้กระทำผิดได้กระทำการที่โหดเหี้ยม ทารุณต่อเหยื่อ ดังนั้น การลงโทษประหารชีวิตก็เพื่อเป็นการชดเชยให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำ และเป็นการตัดโอกาสที่ผู้กระทำผิดจะหวนกลับมากระทำผิดอีก และเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ซึ่งเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้
     ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิต ส่วนใหญ่จะให้เหตุผลว่า การประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
     บทความนี้ จึงพยายามหาคำตอบว่า โทษประหารชีวิตนั้น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ โดยอาศัยเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการหาคำตอบ ดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม. (2556). บทวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์และเชื่อมโยงเพื่อวางทิศทางแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2557-2561). กรุงเทพฯ: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม.

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม. (2557). รณรงค์เปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล. กรุงเทพฯ: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม.

กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. (2551). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) กรุงเทพฯ: กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2555). ศัพท์สิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2556). ประมวลศัพท์และความรู้สิทธิมนุษยชน เล่ม 2 ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

“พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560” (2560, 12 ธันวาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 123 ก หน้า 2.

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540”. (2540, 11 ตุลาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก หน้า 7.

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”. (2550, 24 สิงหาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 8-9.

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”. (2560, 6 เมษายน) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 8-9.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2548). สิทธิมนุษยชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

(https://www.ohchr.org/en/issues/pages/whatarehumanrights.aspx)

(https://www.ohchr.org/en/issues/pages/whatarehumanrights.aspx)

(https://www.ohchr.org/en/professionalinterest/pages/ccpr.aspx)

(http://oknation.nationtv.tv/blog/localbetong/2010/09/26/en