ส่วนประสมการตลาดบริการ และคุณภาพบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

Main Article Content

ฟาริดา ยุมาดีน
กิตติ แก้วเขียว

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมของผู้ใช้สถานออกกำลังกาย ส่วนประสมการตลาด คุณภาพบริการ และการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างด้านปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (3) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร และ (4) วิเคราะห์คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ สมาชิกประจำของสถานออกกำลังกาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จำนวน 268 ท่าน ใช้วิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.984 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิเคราะห์สมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกาย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี ส่วนมากมีการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี มีรายได้ 10,001 – 20,000 บาท ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ พฤติกรรมของผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกาย พบว่า ผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกายส่วนใหญ่มาใช้บริการกับเพื่อน/กลุ่มคณะ ใช้สถานออกกำลังกายโดยใช้เครื่องเล่นทั่วไป เช่น วิ่งสายพาน ปั่นจักรยาน ใช้สถานออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกิน ใช้บริการช่วงเวลา 16.00–19.00 น. ใช้บริการต่อครั้งประมาณ 1-2 ชั่วโมง เลือกใช้บริการสถานออกกำลังที่อยู่ใกล้บ้าน ส่วนบุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายส่วนใหญ่เป็นเพื่อน ผลการศึกษาส่วนประสมทางการตลาดของสถานออกกำลังกายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดด้านกระบวนการให้บริการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากร ด้านกายภาพ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ ผลการศึกษาคุณภาพบริการของสถานออกกำลังกาย พบว่าด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านความเชื่อถือไว้วางใจ ด้านความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและด้านความเป็นรูปธรรมของบริการตามลำดับ ผลการศึกษาการตัดสินใจใช้บริการของสถานออกกำลังกาย พบว่าเหตุผลที่ตัดสินใจใช้บริการคือผู้ใช้บริการพึงพอใจในภาพรวมของสถานออกกำลังกาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้ใช้สถานออกกำลังกาย และจะแนะนำสถานออกกำลังกายให้แก่บุคคลอื่นใช้บริการตามลำดับ (2) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกาย พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกายด้านการใช้บริการสถานออกกำลังกาย ด้านเหตุผลในการใช้บริการสถานออกกำลังกาย ด้านวัตถุประสงค์ในการใช้บริการสถานออกกำลังกาย ด้านเวลาเฉลี่ยที่ใช้บริการสถานออกกำลังกาย และด้านสถานที่ตั้งมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อยถึงปานกลางในทิศทางเดียวกัน ส่วนตัวแปรอื่นไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ (3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกาย พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ (4) ผลการวิเคราะห์คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกาย พบว่าคุณภาพบริการด้านความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการและด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิริฒิพา เรืองกล. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพในการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้า วี ฟิตเนส โซไซตี้ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

ณัชชาอร วันธงชัย. (2547). ความพึงพอใจแนวโน้มพฤติกรรมและความจงรักภักดีของผู้บริโภคที่มี ต่อการใช้บริการ EXPRESS MAILBOX ร้าน WINDOW PRINT ถนนรามคำแหง เขต สะพานสูง กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพฯ:

นรเศรษฐ กมลสุทธิ , จิราพร อังศุวิโรจน์กุล. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสมัครสมาชิกฟิตเนส เซ็นเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พนิดา อภิชาติ อรพินทร์ เยาวรัตน์ และอัญชลี พงค์เจริญพิทย์. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีผลในการเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย (Fitness) ในเขตกรุงเทพมหานคร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รุจิพจน์ อินทร์สุวรรณ. (2555.) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการที่ศูนย์ออกกำลังกาย อนันต์ไลน์ฟิตเนส ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.กรุงเทพฯ

ศันสนีย์ สีพิมขัด. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของโรงแรมเครือต่างชาติระดับ 4-5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

Kotler and Keller. (2009). Marketing Management the Millennium Edition. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Ozan Can Koseley, Rslph Gesterkamp and Josquin Datudey. (2011). Marketing plan of a low cost gym in the Netherlands. Retrieved form https://www.slideshare.net/ozancank/strategic-marketing-final-report1.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985, Fall). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, pp. 41 - 50.

Philip Kotler. (2012). Marketing Management. Pearson Education. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Schiffman, Leon G., & Kanuk, Leslie L. (2007). Customer Behavior (9th ed.). Englewood. 8th Edition. McGraw-Hill Higher Ed.