ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงินของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย

Main Article Content

ศิริพร มูลสาร
ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานบัญชีและการเงินที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงินในสหกรณ์การเกษตร (2) ศึกษาปัจจัยด้านสภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตร ที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงินในสหกรณ์การเกษตร ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบัญชีและการเงินของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย จำนวน 3,613 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานบัญชีและการเงิน ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงินของสหกรณ์ ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ปัจจัยด้านสภาพทั่วไปของสหกรณ์การเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงิน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงิน ได้แก่ (1) ด้านความรู้ความเข้าใจด้านบัญชีและการเงิน (2) ด้านแนวคิดเกี่ยวกับงานบัญชีและการเงิน (3) ด้านวิธีปฏิบัติงานในการจัดทำบัญชีและการเงิน (4) ขนาดของสหกรณ์ และ (5) ความพร้อมของเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลกระทบเชิงบวกกับการปฏิบัติงานบัญชีและการเงินของสหกรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพื่อให้การจัดทำบัญชีและการเงินมีประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ควรแนะนำ ส่งเสริมให้สหกรณ์มีการบริหารงานด้านบัญชีและการเงินอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งกำกับสหกรณ์ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และให้ดำเนินกิจการตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของสมาชิก และประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2557). คู่มือการจัดทำงบการเงินสหกรณ์ประเภทเกษตร. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก www.cgd.go.th.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2559). สารสนเทศสหกรณ์ ในประเทศไทย ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก www.cpd.go.th.

ชุติกาญจน์ เกิดประกอบ. (2554). ปัญหาการจัดทำบัญชีของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

ลัดดา คำเสมอ. (2554). การศึกษาปัญหาของผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชีของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี.

วรกร แช่มเมืองปัก. (2554). การพัฒนาแบบจำลองสำหรับทำนายความสามารถในการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

Eni Wuryani. (2012). The improvement of the Woment Cooperative Performance by Implementing Good corporate Govermance. International Journal of Business and Management, 3, 229.

Hariyogo, Himawan. (2004). An economic analysis of factors affecting the fallure of an agricultoual marketing cooperative: The bankruptcy of Tri Valley Growers. (Ph.D. dissertation). University of Callfornia. USA.

Misrepassi, Nasser. (2004). The impact of age and education on tendency toward different types of cooperatives in Iran (Online). Retrieved January 23, 2017 from http://www.uv.es/iuduescoop/ abstracts/Misserepassi.doc.