การประยุกต์ใช้การวิจัยอิงการออกแบบเพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญา ร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัยของอาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

Main Article Content

ทิชากรช์ อาทิตวรากูล
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาร่วมกับกลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อเสริมสมรรถนะการวิจัย ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยอิงการออกแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 22 คน ระยะเวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกการชี้แนะ แบบบันทึกสะท้อนคิด และแบบบันทึกการดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่งเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


         กระบวนการชี้แนะทางปัญญา ฯ มีองค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ กระบวนการและเงื่อนไขการนำกระบวนการไปใช้ ขั้นตอนของกระบวนการประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม 1.1) สร้างความไว้วางใจ 1.2) กำหนดแผนการชี้แนะ  1.3) ให้สาระแก่นวิจัย ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการชี้แนะ 2.1) ผสานความรู้ 2.2) ตกผลึกความคิดสู่การปฏิบัติ 2.3) ชี้แนะเพื่อสร้างการเรียนรู้  2.4) สะท้อนผลการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ทบทวนไตร่ตรอง 3.1) สะท้อนงานบุคคล 3.2) สะท้อนกระบวนการ และเงื่อนไขสำหรับผู้รับการชี้แนะ ต้องใช้กลยุทธ์อภิปัญญาเพื่อกำกับการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การควบคุม และการประเมินการคิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี, ศรินธร วิทยสิรินันท์, และปัทมศิริ ธีรานุรักษ์. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญพร ชื่นกลิ่น. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญพร ชื่นกลิ่น. (2553). การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวง (วิทยานิพนธ์
ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร .นครปฐม.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณะ บรรจง. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของเอกลักษณ์นักศึกษาครูและการรับรู้ความสามารถของตนในการเป็นครูนักวิจัยที่มีต่อพฤติกรรมครูนักวิจัยของนักศึกษาครูในยุคปฏิรูปการศึกษา. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

สรชัย พิศาลบุตร. (2549). การทำวิจัยในชั้นเรียนรู้กันได้ใน 5 ชั่วโมง. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. บทความเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ Thailand Research Expo 2013 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) Twilight Program. วันศุกร์ที่ 23
สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา จุดประกายความคิดใหม่. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.

Edelson, D. C. (2002). Design research: What we learn when we engage in design. Journal of the Learning Sciences, 11, 105-121.

Joyce, V., & Showers, B. (Producer). (2003). Student achievement through staff development. Retrieved from http://test.updc.org/asset/files/professional_development/umta/lf/randd-engaged-joyce.pdf.

Koongaew, A. (2006). Classroom research. Phetchaboon: Phetchaboon Rajabhat University.

Van den Akker. (1999). Principles and methods of development research. In design approaches and tools in education and training, 1-14, Springer Netherlands.