ประสิทธิผลของการใช้อีเลิร์นนิงในรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Main Article Content

สุภารักษ์ เมินกระโทก
วีรพงษ์ พลนิกรกิจ
นฤมล รักษาสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาบทเรียน รายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาเรื่อง “การเขียนรายงานสหกิจศึกษา” 2) ศึกษาประสิทธิผลบทเรียนด้วยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนในลักษณะอีเลิร์นนิงกับการเรียนกับผู้สอนในห้องเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้บทเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนจากบทเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิง จำนวน 187 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนกับผู้สอนในห้องเรียน จำนวน 325 คน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดลักษณะนิสัยการเรียนรู้ของ เดวิด เอ โคล์บ 2) บทเรียนรายวิชาเตรียม
สหกิจศึกษา เรื่อง “การเขียนรายงานสหกิจศึกษา” 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และ ค่า ANOVA


              ผลการวิจัย พบว่า


  1. การออกแบบและพัฒนาบทเรียน รายวิชาเตรียมสหกิจศึกษา เรื่อง “การเขียนรายงานสหกิจศึกษา” ผู้วิจัยได้ใช้หลักการออกแบบระบบการสอน (Instructional System Design: ISD) ตามตัวแบบเอ็ดดี้ (ADDIE Model)

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนจากบทเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิงกับที่เรียนกับผู้สอนในห้องเรียนพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนการเรียนจากบทเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิงสูงกว่าการเรียนกับผู้สอนในห้องเรียน

  3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนจากบทเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิง อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพร ตันติรังสี. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้หลักการของ ADDIE Model วิชา การใช้โปรแกรมกราฟิก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จิราภรณ์ กันภัย. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เรื่องการเขียนรายงานระหว่างการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการเรียนแบบปกติของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ชัยวัฒน์ จิวพานิชย์. (2550). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการฝึกอบรม เรื่อง การออกแบบและสร้างบทเรียนบนเว็บ. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ

ณัฐชา ธำรงโชติ. (2558). ปัญหาและอุปสรรคในการรับนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษาตามแนวความคิดของสถานประกอบการ: กรณีศึกษา คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร [ฉบับพิเศษ]. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 279-286.

ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-learning: หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญ์กรชนัท นิ่มเจริญนิยม. (2558). สหกิจศึกษาการศึกษาปัจจัยมาตรฐานสหกิจศึกษาของสถานประกอบการที่มีผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา

พงศ์ระพี แก้วไทรฮะ. (2553). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาระบบสารสนเทศในการบริหารอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

รสริน เจิมไธสง. (2560). การพัฒนาบทเรียนอิเลคทรอนิคส์ รายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน. Veridian E-Journal, 10(3), 1027-1038.

รักชนก โสภาพิศ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว. (ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

วรดา นาคเกษม และศศิรดา พันธ์วิเศษศักดิ์. (2557). วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การใช้บทเรียนออนไลน์ในรายวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาเทคโนโลยีออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

วัชรพล วิบูลยศริน. (2557). หลักการออกแบบการสอนบนเว็บตามแบบจำลอง ADDIE เพื่อการสอนสนทนาภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างประเทศ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(12), 192-205.

วัชรินทร์ รักเสนาะ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการบริหารระบบการจัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา.(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ

วิจิตร ศรีสอ้าน และคนอื่น ๆ. (2558). ประมวลสาระชุดฝึกอบรมสหกิจศึกษา. นครราชสีมา: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

วิชิต แสงสว่าง (2560). ผลการใช้บทเรียน E–learning เรื่อง สัมมนาทางคอมพิวเตอร์ศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 155.

สมชาย สุริยะไกร. (2554). แบบการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์: ทฤษฎีและข้อค้นพบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 7(1), 1-10.

สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2558). มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกจศึกษา. นครราชสีมา: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. (2557). การประเมินผลโครงการสหกิจศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ สาขาวิชาการบัญชี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 8(1), 145-157.

หทัยรัตน์ บัณฑิตยารักษ์ (2554). การศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาสหกิจศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ตามความคิดเห็นของสถานประกอบการ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนล สวนประดิษฐ์. (2559). ผลการใช้บทเรียน E-Learning รายวิชาสัมมนาทางคอมพิวเตอร์ศึกษาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 131-145.

อลงกต ยะไวทย์. (2549). การพัฒนารูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจากผลการเปรียบเทียบสมรรถนะกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ. (ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ

อัจฉราพร โชติพฤกษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

Abulibdeh, E. S. (2011). E-learning Interactions, Information Technology Self-Efficacy and Student Achievement at The University of Sharjah, UAE. Australasian Journal of Educational Technology & Society, 27(6), 1014-1025.

Alqahtani, A. A. (2010). The Effectiveness of Using e-learning, Blended Learning and Traditional Learning on Students' Achievement and Attitudes in a Course on Islamic Culture: An Experimental Study. Durham University.

Bichelmeyer, B., Boling, E., and Gibbons, A. S. (2006). Instructional Design and Technology Models: Their Impact on Research and Teaching in Instructional Design and Technology. Educational Media & Technology Yearbook, 31, 33-49.

Cassidy, S. (2004). Learning Styles: An Overview of Theories, Models, and Measures. Educational Psychology, 24(4), 419-444. doi: 10.1080/0144341042000228834

Cole, J. R. (2005). Using Moodle: Teaching with The Popular Open Source Course Management System Using Moodle: Teaching with The popular Open Source Course Management System. Sebastopol, CA. O'Reilly Community Press.

Ghaffari, R., Ranjbarzadeh, F. S., Mazouchian, H., Azar, E. F., and Abbasi, E. (2013). The Analysis of Learning Styles and Their Relationship to Academic Achievement in Medical Students of Basic Sciences Program. Res Dev Med Educ, 2(2), 73-76. doi: 10.5681/rdme.2013.017

Gürses, M. Ö. and Bouvet, E. (2016). Investigating Reading Comprehension and Learning Styles in Relation to Reading Strategies in L2. Reading in a Foreign Language, 8(1), 20-42.

Kozub, R. M. (2010). An ANOVA Analysis of the Relationships between Business Students' Learning Styles and Effectiveness of Web Based Instruction. American Journal of Business Education, 3(3), 89-98.

Lu, H., Jia, L., Gong, S., and Clark, B. (2007). The Relationship of Kolb Learning Styles, Online Learning Behaviors and Learning Outcomes. Educational Technology & Society, 10(4), 187-196.

Manochehri, N. N., and Young, J. I. (2006). The Impact of Student Learning Styles with Web-Based Learning or Instructor-Based Learning on Student Knowledge and Satisfaction. The Quarterly Review of Distance Education, 7(3), 313-316.

Peters, K. (2012). Understanding Community College Students' Learning Styles and the Link to Academic Achievement. (3522110 Ph.D.), Walden University: Ann Arbor. Retrieved from http://search.proquest.com/docview/1035338162?accountid=28756 ProQuest Dissertations & Theses Global database.

Prapai Klinkhachorn. (1993). A Survey of Problems and Practices of Teaching English in Large Classes. (Master of Art). Mahidol University. Bangkok.

Saeed, N., Yang, Y., and Sinnappan, S. (2009).Emerging Web Technologies in Higher Education: A Case of Incorporating Blogs, Podcasts and Social Bookmarks in a Web Programming Course based on Students' Learning Styles and Technology Preferences. Educational Technology & Society, 12(4), 98-109.

Seels, B., and Glasgow, Z. (1998). Making Instructional Design Decisions. 2nd ed.Upper Saddle River, N.J.: Merrill.

Stiefel, C. A. (2012). An Analysis of Learning Style as a predictor for students Self-Selection of Introductory Psychology Courses. (3549027 Ph.D.), Capella University: Ann Arbor. Retrieved from http://search. proquest.com/docview/1283066021?accountid=28756 ProQuest Dissertations & Theses Global database.

Strong, R., Irby, T. L., Wynn, J. T., and McClure, M. M. (2012). Investigating students' satisfaction with eLearning sourses: The Effect of learning environment and social presence. Journal of Agricultural Education, 53(3), 98-110.

Swanson, T. A. (2006). ADDIE in the library. Community & Junior College Libraries, 13(2), 51-61. doi: 10.1300/J107v13n02_08

Waes, L., Weijen, D., and Leijten, M. (2014). Learning to write in an online writing center: The effect of learning styles on the writing process. Computers & Education, 73, 60-71. doi:10.1016/j.compedu. 2013.12.009

Xu, Z. (2012). Problems and strategies of teaching English in large classes in the People's Republic of China. Retrieved from http://otl.curtin.edu.au/professional_development/conferences/tlf/tlf2001/xu. html

Yang, Y. J., and Wu, C. (2009). An attribute-based ant colony system for adaptive learning object recommendation. Expert Systems with Applications, 36(2, Part 2), 3034-3047. doi: http://dx.doi.org/ 10.1016/j.eswa.2008.01.066