การพัฒนาแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 500 คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่กำหนดสถานการณ์ให้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความตรง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเที่ยง
ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย ด้านการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม ด้านการใช้น้ำ ด้านการใช้ป่าไม้ ด้านการใช้สัตว์ป่า และ ด้านการใช้แร่ธาตุซึ่งเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่กำหนดสถานการณ์ให้ จำนวน 40 ข้อ และ (2) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมีความตรงตามเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 ความยากอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.76 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.60 และความเที่ยงมีค่าเท่ากับ 0.91
Downloads
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิจจา จริยะประดับ. (2545). การพัฒนาเครื่องมือวัดการเห็นคุณค่าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปวัฒนธรรมและภูมิใจใน
ความเป็นไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
กรมวิชาการ. (2524). ดินและน้ำเพื่อการเกษตร. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการจัดพิมพ์.
จรรทิมา หลงประไพ. (2551). การพัฒนาแบบวัดความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
จริยา ภูสีฤทธิ์. (2550). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ของ
นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
จุไรรัตน์ คนคล่อง. (2545). การศึกษาความสามารถคิดแก้ปัญหาและค่านิยมในภูมิปัญญาท้องถิ่น ของเด็กที่มี
ความสามารถพิเศษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
เทวินทร์ พิศวง. (2448). การพัฒนาแบบวัดคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช, นนทบุรี.
บุญยภา ชมศิริ. (2547). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ของ
โรงเรียนในอำเภอโพนทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
บุญเชิด ชุมพล. (2547). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 โรงเรียนอำนวยวิทย์. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
กรุงเทพฯ.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2541). คิดเก่งสมองไว. กรุงเทพฯ: บริษัทโปรดัคทีฟกรุปจำกัด.
รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา. ฉบับปรับปรุง
ครั้งที่ 1 หน่วยที่ 6 หน้าที่ 6-5 ถึง 6 -71 นนทบุรี.
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2554). การสร้างเครื่องมือวิจัย. โครงการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลหน่วยที่ 2
หน้าที่ 44 - 114 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรัตถ์ ศิริชา. (2544). การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ
ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา.
(ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ และดารณี คำวัจนัง. (2551). สอนเด็กให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สมคิด พรมจุ้ย และบุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2554). การสร้างเครื่องมือวิจัย. โครงการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกอบรม
ทางไกล. หน่วยที่ 1 หน้าที่ 26 - 30 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สุจิรา สุขสาร. (2545). การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณธรรม จริยธรรมที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
สุดารัตน์ ไชยเลิศ. (2553). การสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพฯ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.