การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

รุ่งอรุณ พรเจริญ
ทรงสิริ วิชิรานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการรจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา โลกในศตวรรษที่ 21 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย สื่อสังคมออนไลน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อสังคมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเปอร์เซ็นต์ความแตกต่าง   


ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่อง ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

รุ่งอรุณ พรเจริญ, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

 

  

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง. ใน เอกสารชุดแนวทางปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

กันตภณ พาหุมันโต และคณะ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ เรื่อง การใช้โปรแกรมการนำเสนอ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนแบบชี้แนะร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (น.1246-1255). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

จอมพล เล้ารุ่งเรือง และจิรพล สังข์โพธิ์. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 24(1), 29-44.

ชวลิต ชูกาแพง. (2551). การประเมินการเรียนรู้. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อสังคมออนไลน์ออนไลน์กับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 7-20.

ทรงสิริ วิชิรานนท์, อรุณี อรุณเรือง, นิตินันท์ ศรีสุวรรณ และสุนันทา ชูตินันท์. (2561). ความต้องการจำเป็นในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 75-86.

วิภาส วิกรมสกุลวงศ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

ศุภสิทธิ์ เต็งคิวและ ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2559). ผลการพัฒนาชุดการสอนร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง โลจิสติกส์และ โซ่อุปทาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ (น.1386-1394). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สรญา เปรี้ยวประสิทธิ์ และคณะ. (2562). การประยุกต์ใช้ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในการจัดการศึกษาบนเครือข่ายสังคมออนไลน์. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ พะเยาวิจัยครั้งที่ 8 (น.1727-1737). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.