วาทกรรมการเมืองในวิกฤตการณ์ชุมนุมของคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ช่วงปี ค.ศ.2013-2014

Main Article Content

ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ
สุภาภรณ์ ศรีดี
วรวลัญช์ โรจนพล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องวาทกรรมการเมืองในวิกฤตการณ์ชุมนุมของคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ช่วงปี ค.ศ.2013-2014 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสร้างวาทกรรมการเมือง การใช้ความรู้ และอำนาจ ในฐานะเป็นเครื่องมือเคลื่อนไหวทางการเมืองในวิกฤตการณ์ชุมนุมของคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ช่วงปี ค.ศ.2013-2014 2) อิทธิพลของวาทกรรมการเมือง การใช้ความรู้ และอำนาจ ที่ส่งผลต่อการเมืองไทยจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองในวิกฤตการณ์ชุมนุมของคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ช่วงปี ค.ศ.2013-2014


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยหลังสมัยใหม่ (Postmodern Research) แบบวงศาวิทยา (Genealogy) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐานต่างๆ ได้แก่ วีดิทัศน์คำปราศรัยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จำนวน 204 ตัวบท (Text) เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อใหม่เป็นหลัก และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักระดับแกนนำในฐานะตัวแทนในการให้ข้อมูลจากแกนนำทั้งหมด จำนวน 1 คนเป็นข้อมูลเสริม การวิเคราะห์ตัวบท (Text) วีดิทัศน์คำปราศรัยด้วยการรื้อสร้าง (Deconstruction) วิเคราะห์แสดงปฏิบัติการความหมาย (Discursive Practice) ปฏิบัติทางการสังคม (Social Practice) แสดงสิ่งที่ถูกปิดกั้น กดทับ เส้นทางที่มาที่ไป ผลกระทบจากวาทกรรมการเมือง สังเคราะห์แสดงถึงความสัมพันธ์ของวาทกรรมความรู้ อำนาจ ความจริง


ผลการวิจัย 1) การสร้างวาทกรรมการเมือง การใช้ความรู้ และอำนาจ ในฐานะเป็นเครื่องมือเคลื่อนไหวทางการเมือง ในวิกฤตการณ์ชุมนุมของคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) พบว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองของคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) มีกรอบความรู้ “วาทกรรมประชาธิปไตย” กำกับบงการ ประเด็นประชาธิปไตยจึงเป็นเนื้อหาหลักของการต่อสู้ คณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และคู่ขัดแย้ง ต่างพูดเรื่องเดียวกัน แต่เนื้อหา ความหมายที่ให้กับคำว่า “ประชาธิปไตย” ต่างกัน วาทกรรมประชาธิปไตย ถูกพูด ถูกนำเสนอ ถูกแสดงออก ด้วยการสร้างวาทกรรมการเมืองจำนวนมากมาย เพื่อให้เหตุผล เสนอปัญหาที่รัฐบาลได้กระทำ วาทกรรมการเมืองถูกแพร่กระจายออกไปด้วยปฏิบัติการความหมาย สู่ปฏิบัติการทางสังคม วาทกรรมประชาธิปไตย เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง หมุนไปตามพลวัตทางการเมือง มันเคลื่อนตัวของมันเอง ภายใต้วาทกรรมการเมืองที่มาปะทะ ขณะเดียวกันก็เสนอวาทกรรมการเมืองใหม่ๆ ขึ้น เพื่อที่จะให้เหตุผลในการเคลื่อนไหว ทั้งสิ้น 11 วาทกรรม ได้แก่ วาทกรรมประชาธิปไตย วาทกรรมสภาโจร สภาทาส ออกกฎหมายช่วยโจร วาทกรรมสงบ สันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธสู้อย่างพลเมืองดีมีอารยะ วาทกรรมโค่นระบอบทักษิณทุนนิยมสามานย์ทุจริตคอรัปชั่น วาทกรรมลุงกำนัน วาทกรรมสภาประชาชน วาทกรรมอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน วาทกรรมปฏิรูปก่อนเลือกตั้งแก้กฎหมายให้บริสุทธิ์ยุติธรรม วาทกรรมปฏิวัติประชาชน วาทกรรมรัฎฐาธิปัตย์ และวาทกรรมคนดีปกครองโดยธรรม โดยทั้งหมดของวาทกรรมการเมือง เพื่อสนับสนุนคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่จะดำรงความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวทางการเมือง สร้างฐานมวลชน ภายใต้ความรู้ และอำนาจ 2) อิทธิพลของวาทกรรมการเมือง การใช้ความรู้ และอำนาจ ที่ส่งผลต่อการเมืองไทยจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองในวิกฤตการณ์ชุมนุมของคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) พบว่า ส่งผลกระทบทางการเมืองใน 3 มิติ (1) ทิศทางการเมืองจากวาทกรรม “โค่นอำนาจระบอบทักษิณทุนนิยมสามานย์ทุจริตคอรัปชั่น, สภาประชาชน, ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง, ปฏิวัติประชาชน, รัฎฐาธิปัตย์ สร้างความเป็นจริงให้การเมืองไทยอยู่ในสภาวะต่างจากหลักการของกระบวนการไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย แต่เป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นประชาธิปไตย (2) การสร้างเหตุผลเพื่อรักษาความชอบธรรมทางการเมืองและการ ฃสร้างฐานการสนับสนุนจากมวลชนในการเคลื่อนไหวทางการเมือง (3) ผลต่อความหมายของประชาธิปไตย ให้หลากเลื่อนเคลื่อนไป ด้วยวาทกรรม “คนดีปกครองโดยธรรม” คณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เสนอประเด็น “คนดี, คุณธรรม” เข้าประสานความหมาย ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข “ประชาธิปไตยในแบบคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษียร เตชะพีระ. (2556, 30 พ.ย.). ระบอบทักษิณคืออะไร. ประชาไท. สืบค้นจาก https://isranews.org/isranews/25523-09282.html.

เขมา สมใจ. (2551). การสื่อสารทางการเมืองในวิกฤติการเมืองไทย ปี 2549: ศึกษากรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการสื่อสารทางการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก. กรุงเทพฯ.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2551). ภาษากับการเมืองความเป็นการเมือง. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

ธงชัย วินิจจะกุล.(2559). การศึกษาประวัติศาสตร์แบบสาแหรกวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของฟูโกต์ กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

ธงชัย วินิจจะกุล. (2534). วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา (Genealogy). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มณีมัย ทองอยู่. (2557). แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาว่าด้วยขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา

ศุภเดช ศักดิ์ดวง. (2557). บทเรียน “Hate Speech” จากสังคมไทย “วาทกรรม” แห่งการนองเลือด. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม2562, จาก http://www.isranews.org/isranews.html.

สามบลา. (2557, 13 มีนาคม). ยังสงบสันติ อหิงสา อยู่ใช่มั๊ย?. ประชาไทย. สืบค้นจาก https://www.3blabla.blogspot.com/?m=1

สายพิณ ศุพุทธมงคล. (2558). ฟูโกต์. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.

สุเทพ เทือกสุบรรณ. (2556). มติแกนนำ 1 พ.ย.56 ศูนย์ประสานงานฯ. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562, จาก http://www.youtube.com/watch?v=958CSh6dblw.

สุเทพ เทือกสุบรรณ. (2556). สิ้นเดือนนี้จบ ราชดำเนิน 12 พ.ย.56. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2556, จาก http://www.youtube.com/watch?v=6VRyFrcunDc.

สุเทพ เทือกสุบรรณ. (2556). สุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยบนเวทีราชดำเนิน 15 พ.ย. 2556, จาก http://www.youtube.com/watch?v=6rQIC1fhoc.

Benford, R. & David, S. (2000). Framing Process and Social Movements: An Overview and Assessment. Annual Review of Sociology, 26, 611-639

Foucalt, M. (2000). The Political Technology of Individuals in Michel Foucault Power Essential Works of Foucault 1954-1984 (Paul Rabinow, ed). New York: The New Press.

Foucalt, M. (1991). Discipline and Punish: The Birth of Prison. Sheridan (Alan, trans). New York: Penguin Books.

Foucalt, M. (1980). Power/Knowledge. New York: Harvester Press.

Foucalt, M. (1972). The Archeology of Knowledge. And the Discourse on Language. New York, NY: Tavistock Publications Limited.

Heywood, A. (2002). Politics (2nd ed). New York: Palgrave.

Nancy, A.N. (2002). Materialist Feminist Discourse Analysis and Social Movement Research: Mapping the Changing Context for “Community Control”. London: Oxford University Press.

Shapiro, M.J. (1981). Language and Political Understanding: The Politics of Discursive Practices. New Haven: Yale University Press.