การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

นงค์ลักณ์ รุ่งวิทยาธร

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการเข้าสัมมนารูปแบบใหม่ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) ศึกษาความพร้อมในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ของอาจารย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ประชากรที่ใช้ศึกษา ประกอบด้วยนักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่ลงทะเบียนภาคปลายปีการศึกษา 2556 จำนวน 1,985 คน และอาจารย์บัณฑิตศึกษา จำนวน 195 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่จากข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและสนทนากลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


       ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการเข้าสัมมนารูปแบบใหม่ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา พบว่าส่วนใหญ่ต้องการเข้าสัมมนาแบบเดิม คือ สัมมนาในวันเสาร์-อาทิตย์ 2) ความพร้อมในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ของอาจารย์บัณฑิตศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเพิ่มทางเลือกในการสัมมนาช่วงเย็นหลังเลิกงานวันทำการปกติ (วันจันทร์-ศุกร์) และ 3) ความเป็นไปได้ในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ พบความเป็นไปได้ในการจัดสัมมนารูปแบบใหม่ คือการจัดสัมมนาในช่วงเย็นหลังเลิกงานวันทำการปกติ (วันจันทร์-ศุกร์) โดยการทำโครงการพิเศษแยกจากการจัดการเรียนการสอนบัณฑิตศึกษาแบบเดิม หรือการทำโครงการความร่วมมือกับหน่วยงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2541). การพัฒนาระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 20 ปี มสธ. แห่งการพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์. (2549). E-Learning. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2557. จาก http://thaicai.com/articles/elearning5.htme2549.

ธงชัย แก้วกิริยา. (2553). E-Learning ก้าวไปสู่ M-Learning ในยุคสังคมของการสื่อสารไร้พรมแดน. วารสารร่มพฤกษ์, 28 (1), 112-136.

บุญเกื้อ ควรหาเวช: (2545). นวัตกรรมทางการศึกษา . พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ .

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สำนักบัณฑิตศึกษา ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานบัณฑิตศึกษา. (2553). คู่มือการจัดการเรียนการสอนในระบบอิเล็กทรอนิกส์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สำนักบัณฑิตศึกษา ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานบัณฑิตศึกษา.(2557). คู่มือนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ. (2534). การศึกษาทางไกล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อาทิตตา ตันตระกูล (2553). แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2557. จาก http://atita404.wordpress.com

Perry, Walter. (1983) The Growth of Distance Education. In Neil Michael W. Education of Adults at a Distance: A report of the Open University’s Tenth Anniversary International Conference. London: Kogan Page