ผลกระทบด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าในความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าในความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจเครื่องดื่ม การวิจัยเป็นเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีอายุ 23-32 ปี จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตามวิธีแบบคัดกรอง (Screen Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า สามารถแบ่งออกอิทธิพลเป็น 3 ด้าน คือ อิทธิพลด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ มีผลต่อภาพลักษณ์ด้านคุณค่าในความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งอิทธิพลแต่ละด้านนี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาและให้ความสำคัญมากถ้าหากจะทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอนาคต
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร.(2549). การสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า (Brand Image Building). สืบค้นจาก http://www.thaihp.org/index.php?option=other_detail&lang=th&id=11&sub=26.
จารยา บุญมาก. (2555). องค์กรนักบุญ CSR บ.เหล้า!?! ความนัย...ที่ผู้บริโภคควรรู้เท่าทัน. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000030019
นริศร รักษ์วรรณา. (2554). การวัดมูลค่าตราสินค้าโดยรวมจากมุมมองของผู้บริโภค. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ประสพชัย พสุนนท์. (2555). วิธีการเลือกตัวอย่างแบบคัดกรอง. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.
มัติกร บุญคง. (2557). งานวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) ค.ศ.2009 – 2013. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน ประจำปี 2557.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2540). การประชาสัมพันธ์ ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีรัช ลอยสมุทร. (2555). การทำ CSR ของบริษัทน้ำเมาสร้างภูมิคุ้มกันหรือมอมเมาเด็กเยาวชน. สืบค้นจากhttp://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000151908
สถาบันไทยพัฒน์.(2551). บรรษัทบริบาล (CSR) ต่างกับ บรรษัทภิบาล (CG) อย่างไร. สืบค้นจาก http://faq.thaicsr.com/2006/11/csr-cg.html.
สถาบันไทยพัฒน์.(2555).4 กลยุทธ์เพิ่มดีกรี CSR สร้างกระแสขับเคลื่อนทั่วประเทศ.จาก http://thaicsr.blogspot.com/2009/11/4-csr.html
อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ และจิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร. (2548). การบริหารภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ.
Aaker D.A., (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name. NY: Free Press.
Carroll, A. B. (1979). A Three-Dimensional Model of Corporate Performance. Academy of Management. Review, 4[4].
Carroll, A.B. and Buchholz, A.K. (1999). Business and Society: Ethics and Stakeholder Management. 4th ed., South-Western College Publishing, Cincinnati.
John Elkington. (1997). Cannibals with Forks: the TBL of the 21st century business. Oxford: Capstone.
Keller, K.L. (1998). Strategic Brand Management: Building, Measuring, and Managing Brand Equity. 2nd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Philip Kotler. (2003). Marketing Management. (11th ed.). NJ: Prentice Hall.
Philip Kotler and Nancy Lee. (2005).Corporate social responsibility: doing the most good for your Company and
your cause. Hoboken, NJ: Wiley.
Schiffman & Kanuk. (2004).Consumer behavior. 8th ed., NJ: Prentice-Hall International.