การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research--PAR) เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนปาริชาต เขตมีนบุรี กรุงเทพฯในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การอภิปรายกลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาวิจัยคือ 1) การศึกษาความต้องการของวิสาหกิจชุมชนปาริชาต 2) การวิเคราะห์ปัญหาสื่อประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชนปาริชาต 3) การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชนปาริชาต 4) การประเมินผลสื่อประชาสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น


ผลการวิจัย พบว่า วิสาหกิจชุมชนปาริชาตไม่มีสื่อประชาสัมพันธ์ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและองค์กร การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายด้วยการสื่อสารจากสื่อบุคคลเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้การสื่อสารการตลาดเป็นไปได้ช้าและไม่แพร่หลาย ซึ่งส่งผลต่อยอดจำหน่าย การรู้จักสินค้าและตราสินค้า ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสิ่งพิมพ์ขึ้นเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการและงบประมาณของชุมชน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชน 3 ระดับ ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมโดยบุคคล 2) การมีส่วนร่วมโดยเนื้อหา 3) การมีส่วนร่วมในกระบวนการ ผลการศึกษาความพึงพอใจพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2558). การวิเคราะห์/สังเคราะห์ผลงานวิชาการเพื่อสังคมและการเขียนบทความวิชาการเพื่อสังคม. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ณัฐ จันทโรทัย. (2558). คำแนะนำแผ่นพับ. สัมภาษณ์. 21 ธันวาคม 2557

นิษฐา หรุ่นเกษม และคณะ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน: กรณีศึกษาโฮมสเตย์ บ้านจำรุง จังหวัดระยอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วิสาหกิจชุมชนปาริชาต. (2557). ข้อมูลของวิสาหกิจชุมชนปาริชาต. เอกสารถ่ายสำเนา.

ศิริเพ็ญ คล้ายถม. (2550). การศึกษาทัศนะต่อการออกแบบแผ่นพับของโรงพยาบาลราชวิถี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาลัยวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.