การรำลิเกทางครูเด่นชัย เอนกลาภ

Main Article Content

มนัสวี กาญจนโพธิ์
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การรำลิเกทางครูเด่นชัย เอนกลาภ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรำลิเกในรูปแบบของครูเด่นชัย เอนกลาภโดยศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัย การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญต่อวงการลิเก ครูเด่นชัย เอนกลาภ เป็นบุคคลสำคัญทางวงการลิเกที่มีกระบวนการสืบทอดจากครูหอมหวล นาคศิริและครูน้อม รักประจิตต์  ครูเด่นชัย เอนกลาภ นำกระบวนการที่ได้รับการถ่ายทอดมาส่งมอบให้กับบุคคลที่มีความสนใจทางการแสดงลิเก อีกทั้งยังมีกระบวนการสร้างสรรค์ที่เป็นการรำเพลงเสมอออกภาษา จนเป็นรูปแบบการรำเฉพาะทางของครูเด่นชัย  ประเด็นที่ศึกษาในทางการรำลิเกทางครูเด่นชัย อเนกลาภ ประกอบด้วย การรำเพลงเสมอ ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางของตัวละครในการแสดงลิเก ได้รับการถ่ายทอดมีจำนวน 5 เพลง ได้แก่ 1. เพลงเสมอไทยใช้กับสัญชาติ    ตัวละครไทย 2. เพลงเสมอพม่าใช้กับสัญชาติตัวละครพม่า 3. เพลงเสมอมอญใช้กับสัญชาติตัวละครมอญ 4. เพลงเสมอลาว  ใช้กับสัญชาติตัวละครลาว 5. เพลงเสมอเขมรใช้กับสัญชาติตัวละครเขมร นอกจากการรำเพลงเสมอออกภาษาต่างๆ แล้ว ผู้วิจัยได้ศึกษาการรำที่สำคัญของครูเด่นชัย คือ การรำเข้าพระเข้านางหรือรำเกี้ยวเป็นการรำของตัวพระและตัวนางในบทรักใช้เพลงมะลิเลื้อย ประกอบการแสดงและการรำขี่ม้ารำทวนเป็นลักษณะของการรำอวดฝีมือของผู้แสดง


การศึกษาวิจัยเรื่องการรำลิเกทางครูเด่นชัย เอนกลาภ ผู้วิจัยพบว่า กระบวนท่ารำลิเกเป็นการสืบทอด จากรุ่นสู่รุ่นและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในเชิงอนุรักษ์ ซึ่งยังคงสืบทอดการแสดงลิเกอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะมีการพัฒนาสืบต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งคู่กับการแสดงลิเก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2539). ลิเก (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2559). ลิเก: การแสดงและการฝึกหัด (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.