การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้การวิจัยและชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้การวิจัยและชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ 2) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยดำเนินการวิจัยตามหลักการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาปัญหาและข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา (2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ (4) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 30 คนได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้การวิจัยและชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติการวิจัย แบบประเมินรายงานการวิจัย และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ไปใช้เป็นเวลา 15 สัปดาห์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้การวิจัยและชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ในระดับดี 2) ผลการพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษาทั้งสามด้านเป็นดังนี้ (1) ด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ด้านการปฏิบัติการวิจัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ด้านคุณภาพรายงานการวิจัย นักศึกษาสามารถทำรายงานการวิจัยได้เสร็จสมบูรณ์ 5 โครงการจากทั้งหมด 7 โครงการ คิดเป็นผลสำเร็จร้อยละ 71 มีผลการประเมินคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย 82.4 คะแนน
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. (2557). การจัดการความรู้ (KM): เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (Community Base Learning: CBL) (รายงานการจัดการความรู้). กาฬสินธุ์: มปท.
จุฑาทิพย์ อิทธิชินพัฒน์, เสนอ ภิรมย์จิตรผ่อง และณัฐกิตต์ สวัสดิ์ไธสงค์. (2559). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารชุมชนวิจัย, 10(3), 142-153.
จุฑามาส ศรีจำนง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(1), 30-42.
ชไมมน ศรีสุรักษ์. (2560). ถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน (RBL) และชุมชนเป็นฐาน (CBL). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ดิษยุทธ์ บัวจูม. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา. Journal of Behavioral Science, 20(2), 19-36.
ทิศนา แขมมณี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2557. กรุงเทพฯ: สสค.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545. (2545, 8 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561 จาก www.moe.go.th>moe>edlaw>index2.
พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning). ศึกษาศาสตร์สารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 62-71.
พัชนี ยุรชัย, วิลัน จุมปาแฝด, ศิริ ถีอาสนา, และไพศาล วรคำ. (2552). การพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนภัทรดล อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(3), 129-142.
พิสณุ ฟองศรี. 2549. การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เทียมฟ้าการพิมพ์.
มณฑล จันทร์แจ่มใส. (2558). โครงการถอดชุดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กรณีศึกษาการบูรณาการการเรียนรู้วิชาการออกแบบสถาปัตยกรรมกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย (โครงการบ้านมั่นคงชุมชนพระราม 9 บ่อ 3). วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 143-156.
มณฑา ชุ่มสุคนธ์ และนิลมณี พิทักษ์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานในการสอนรายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(4), 41-52.
วิภาวรรณ เอกวรรณัง พิกุล เอกวรางกรู และบุญเรียง ขจรศิลป์. (2560). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 119-131.
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 179-191.
สมชาย รัตนทองคำ. 2556. เอกสารประกอบการสอน 475788 การสอนทางกายภาพบำบัดภาคต้นปีการศึกษา 2556: ทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษาที่มักถูกนำมาใช้พัฒนาด้านการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จาก https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource%20%20/edoc/tech/56web/4learn_edu56.pdf.
สินธะวา คามดิษฐ์. (2557). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในระดับอุดมศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(85), 9-21.
Joyce. B., & Weil. M. (2009). Model of teaching (8th ed). Boston, Ma: Pearson.