การวางกรอบข่าวเด็กของหนังสือพิมพ์ไทยและการวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรมและสิทธิเด็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะของกรอบข่าวเด็กในข่าวหน้า 1 (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการวางกรอบข่าวเด็ก และ (3) ทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อกรอบข่าวเด็กในข่าวหน้า 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า (1) หนังสือพิมพ์ไทยมุ่งวางกรอบการระบุสภาพปัญหามากที่สุด ส่วนกรอบการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหามีน้อยที่สุด การวิเคราะห์จริยธรรมพบว่า พาดหัวข่าวและความนำขัดหลักจริยธรรมว่าด้วยการตัดสินพิพากษา การด่าทอประณาม และการเร้าอารมณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรง ส่วนภาพข่าวขัดหลักจริยธรรมว่าด้วยการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเปิดเผยตัวตน และการสร้างภาพเหมารวมให้กับเด็ก ผลการศึกษากรอบข่าวเด็กตามแนวคิดสิทธิเด็ก พบว่า หนังสือพิมพ์ให้ความสำคัญกับการวางกรอบสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองมากที่สุด ขณะที่กรอบข่าวสิทธิในการมีส่วนร่วมถูกนำเสนอน้อยที่สุด (2) ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการวางกรอบข่าวเด็กของหนังสือพิมพ์ไทย ได้แก่ นโยบายขององค์กร คุณค่าข่าว และบุคลากรข่าว ส่วนปัจจัยภายนอกได้แก่ เทคโนโลยี การแข่งขัน สังคมและวัฒนธรรม และการกำกับดูแล (3) กรอบข่าวเด็กเชิงบวกทำให้ผู้ปกครองเข้าใจธรรมชาติของเด็กมากขึ้น ขณะที่กรอบข่าวเด็กเชิงลบ ส่งผลให้ผู้ปกครองเกิดความวิตกกังวลกลัวจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีกับลูกหลานในฐานะผู้ถูกกระทำ นักวิชาการสื่อสารมวลชนและผู้แทนองค์กรด้านเด็ก เห็นว่า การขาดจริยธรรมและไม่คำนึงถึงสิทธิเด็กในการรายงานข่าวส่งผลให้เกิดการละเมิดอัตลักษณ์บุคคลของเด็ก การเปิดเผยตัวตนของเด็ก การปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมเชิงลบ ตลอดจนการแฝงอคติในการแบ่งเชื้อชาติ ชนชั้น และภูมิภาค ผ่านการเลือกนำเสนอเพียงบางแง่มุมและการผลิตซ้ำ
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
จริยา สมประสงค์. (2553). หนังสือพิมพ์หน้าหนึ่ง ปฏิบัติการในมิติด้านจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ (รายงานการวิจัย). สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.presscouncil.or.th/archives/153
ดวงกมล เทวพิทักษ์. (2555). กรอบเนื้อหาข่าวความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.
เบญจพร ศรีดี และ ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา. (2561). การวางกรอบข่าวอาชญากรรมที่ประกอบสร้างผู้หญิงที่เป็นผู้ต้องหากรณีคดี “นางสาวปรียานุช โนนวังชัย”. วารสารการสื่อสารมวลชน, 6(2), 168-197.
บุบผา เมฆศรีทองคำ และ ขจรจิต บุนนาค. (2553). บทบาทและความคาดหวังต่อสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติในการกำกับจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2563, จาก www.presscouncil.or.th/archives/143
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). การศึกษาวิจัยปฏิรูปสื่อ เล่มที่ 4 การกำกับดูแลเนื้อหาของสื่อหนังสือพิมพ์ (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. (2559). ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2559. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.presscouncil.or.th/ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรม
สราธร บุญสิทธิ์. (2560). บทบาทหนังสือพิมพ์ไทยในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง: การวิเคราะห์การทำหน้าที่และการวางกรอบข่าว กรณีวิกฤตทางการเมืองช่วง พ.ศ.2557 (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2561). สารกับการสื่อสารความหมาย. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
อัญนิดา น้อยวงศ์. (2556). การวางกรอบความคิด เกี่ยวกับ “ศาสนาอิสลาม” ในหน้าหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของประเทศสมาชิกในประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา, 3(5), 105-116.
อิทธิ คำตะลุง และ ปุ่น วิชชุไตรภพ. (2560). ปัญหาเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6, 2 (เมษายน-มิถุนายน) หน้า 87-100.
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2556). การกำหนดกรอบและวาทกรรมของหนังสือพิมพ์ในการแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2552 ในปี 2555 (รายงานการวิจัย). ทุนสนับสนุนการวิจัย USAID โครงการสะพาน. กรุงเทพฯ.
De Vreese, C. H. (2005). News framing: Theory and Typology. Information Design and Document Design, 13(1), 51-62.
Entman, R. (1993). Framing: Toward Clarification of a Fractured Paradigm. Journal of Communication, 43(4), 51- 58
Salathong, J. (2015). Media Coverage in the Context of Education for Sustainable Development (ESD): Content Analysis of Climate Change in Thailand’s Newspaper. International Journal of Environmental sustainable, 11, 1-12.
Scheufele, D.A. (1999). Framing as a Theory of Media Effects. Journal of Communication, 49(1), 103-122.
Supadihiloke, B. (2012). Framing the Sino-US-Thai Relations in the Post-Global Economics Crisis. Public Relations Review, 38(5), 665-675.