การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี

Main Article Content

ธนัญชนก แสนจันทร์
ต้องลักษณ์ บุญธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 359 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจจากการหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบตัวชี้วัดการมีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การคิดเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ 2) กล้าเสี่ยง 3) การมีวิสัยทัศน์ และ 4) การสร้างความร่วมมือ สามารถอธิบายองค์ประกอบการมีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ได้ร้อยละ 66.35

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลกร ตันประภัสร์, ธร สุนทรายุทธ และไพรัตน์ วงษ์นาม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 42-55.

ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 7-20.

นงพงา ปั้นทองพันธุ์. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของพยาบาลประจำการ ภาวะผู้นำ และการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ หน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พยัต วุฒิรงค์. (2555). การจัดการนวัตกรรม: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ = Innovation Management Concept & Best Practice (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรีย กอนซาเลซ. (2557). ผู้นำอุดมสติ. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

เรืองยศ แวดล้อม.(2556). การบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จาก http://lek56.edublogs.org/2014.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 117-127.

สุชญา ศรีอริยะกุล. (2558). คุณลักษณะผู้นำกับคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

สุธีรา อะทะวงษา. (2556). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และลักษณะของสถานประกอบการณ์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

สุภมาส อังศุโชติ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคงการพิมพ์.

สมศักดิ์ กิจธนวัฒน์. (2545). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมโดยใช้หลักการจัดกิจกรรมตามแนวมนุษยนิยมและการเพิ่มพลังศักยภาพตนเองของ แอนโทนี่ ร็อบบินส์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

Guilford, J.P. (1980). Cognitive Styles: What are they?. Journal of Educational and Psychological Measurement, 40(3), 715-735.

Hymes, D. (1964). Introduction: toward Ethographies of Communication [Special Publication]. American Anthropologist, 66(6), 1-34.