วิธีการแสดงลิเกคณะ “ศรราม น้ำเพชร”

Main Article Content

อัชฌายง ตรีสมุทร
สุภาวดี โพธิเวชกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และวิธีการแสดงลิเกคณะ“ศรราม น้ำเพชร” โดยการศึกษาเอกสารการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการสังเกตการณ์การแสดง  


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบ และวิธีการแสดงที่ทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการแสดงลิเกคณะ “ศรราม น้ำเพชร” ประกอบด้วย การจัดบุคลากรที่เหมาะสมกับหน้าที่ ที่สามารถกระจายอำนาจหน้าที่ต่างๆ ในการดำเนินงานด้านการแสดงได้ และผู้แสดงที่ได้รับการฝึกหัด การฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี ส่งผลให้การถ่ายทอดความรู้สึกให้กับผู้ชมของลิเกคณะนี้มีความสมบูรณ์แบบ  การเลือกใช้ดนตรี ซึ่งเป็นวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ส่วนเพลงที่นำมาใช้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. เพลงตามจารีต 2. เพลงตามบท และ 3. เพลงตามใจ โดยมีการเลือกใช้เพลงให้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินเรื่อง เรื่องที่ใช้แสดง มีการนำโครงเรื่องที่ลิเกนำมาแสดงสืบต่อกันมาตั้งแต่ในสมัยก่อนมาปรับเปลี่ยน โดยจะมีการยึดหลักความเป็นจริง มีเหตุมีผล ในการดำเนินเรื่อง และมีลักษณะการกำหนดบทกลอน บทเจรจา และเพลงร้องต่างๆ ดังนั้น ผู้แสดงทุกคนต้องใช้การท่องจำบทของตนเอง เครื่องแต่งกาย และการแต่งหน้า อุปกรณ์การแสดง ประกอบไปด้วย ฉาก เวที แสง สี เสียง และอุปกรณ์ประกอบการแสดงตามเนื้อเรื่อง เช่น ดาบ หอก ทวน ม้าแผง ไม้เท้า เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนช่วยที่ทำให้การแสดงเกิดความสมบูรณ์ในเนื้อเรื่อง การจัดรูปแบบในการแสดง รวมถึงวิธีการแสดงลิเกที่มีกระบวนการฝึกหัด ที่เริ่มฝึกจากพื้นฐานเบื้องต้นก่อน แล้วจึงนำไปสู่การฝึกรำเพลงต่างๆ และการถ่ายทอดวิธีการแสดง ที่เป็นขั้นตอนทุกครั้งก่อนการแสดง โดยใช้วิธีการแจกแจงบทบาท และ บทกลอนที่ใช้ในการแสดง ผู้กำกับอธิบายความเป็นมาของตัวละคร จากนั้นรวบรวมผู้แสดงเพื่ออธิบายโครงเรื่อง แล้วจึงเริ่มฝึกซ้อมการแสดงไปทีละฉาก โดยผู้กำกับจะคอยให้คำแนะนำในการแสดง รวมถึงความสามารถของศรราม และน้ำเพชร พระเอก และนางเอกของคณะ ประกอบด้วย การขับร้อง และการเจรจาที่ออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธีอย่างชัดเจน มีการทำความเข้าใจกับบทบาทของตัวละคร สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครผ่านใบหน้า และแววตา ในด้านการรำ ใช้ทั้งกระบวนท่ารำตามหลักนาฏศิลป์ไทย และการรำตีบทตามคำร้องอย่างลิเก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการ และการอนุรักษ์ สืบทอดมรดกภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงลิเกต่อไป    

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองแก้ว แรงเพ็ชร์. (2549). องค์ประกอบการแสดงลิเกคณะพรเทพ พรทวี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

นพพร ประชากุล. (2543). สัมพันธบท (Intertextuality). สารคดี, 16(182), 175-177.

นพมาส ศิริกายะ. (2525). ดูหนังดูละคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์. (2562). ภาพบนเวที. ใน นพมาส แววหงส์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาคม สายาคม. (2545). รวมงานนิพนธ์ของนายอาคม สายาคม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปกร.