องค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีในมุมมองของพนักงานขับรถบรรทุกในประเทศไทย: การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฏีฐานราก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทฤษฏีฐานรากเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีของพนักงานขับรถบรรทุกในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฏีจากมุมมองของพนักงานขับรถบรรทุกในประเทศไทย ผู้วิจัยคัดเลือกตัวอย่างเชิงทฤษฎีแบบเจาะจงโดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาเอกสาร การสังเกต และการจดบันทึก ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้ให้ข้อมูลหลักในงานวิจัยนี้เป็นพนักงานขับรถบรรทุกที่ถือใบอนุญาตขับรถประเภท 3 (ท.3) หรือ 4 (ท.4) และมีประสบการณ์ในการขับรถบรรทุก 10 ปีขึ้นไปจำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีของพนักงานขับรถบรรทุกในประเทศไทยมี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ค่าตอบแทนและสวัสดิการ 2) ความก้าวหน้าในการทำงาน 3) ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน 4) ความภาคภูมิใจในอาชีพ 5) ความปลอดภัยในการทำงาน และ 6) การสื่อสารข้อมูล นอกจากนี้ ผู้วิจัยพบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีของพนักงานขับรถบรรทุกได้แก่ พนักงานขับรถบรรทุก ผู้ประกอบการกิจการขนส่ง และเพื่อนร่วมงาน
Downloads
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กฤษฎา พงษ์รื่น. (2550). คุณภาพชีวิตการทํางาน กรณีศึกษา: พนักงานขับรถ พนักงานคุ้มกัน และหัวหน้าประจํารถยนต์คุ้มกันทรัพยย์สินมีค่าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.
พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2547). ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) วิธีวิทยาการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีในการพัฒนาประเทศ. บรรณสาร มศก.ท., 19(1), 13-21.
มาริสา จันทร์ขุนทด. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขับรถเทรลเลอร์ในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
สัญญา เคณาภูมิ. (2562). ถอดรหัสการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยและการสร้างกลยุทธ์จากฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Almalki, M. J., FitzGerald, G., & Clark, M. (2012). The Relationship between Quality of Work Life and Turnover Intention of Primary Health Care Nurses in Saudi Arabia. BMC Health Services Research, 12(1), 1-11.
Glaser, B., & Strauss, A. L. (1967). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. Chicago: Aldine.
Horsta, D. J., Brodayb E. E., Bondarickc, R., Serped, L. F. & Pilatti, L. A. (2014). Quality of Working Life and Productivity: An Overview of the Conceptual Framework. International Journal of Managerial Studies and Research (IJMSR), 2(5), 87-98.
Narehan, H., Hairunnisa, M., Norfadzillah, R. A., & Freziamella, L. (2014). The Effect of Quality of Work Life (QWL) Programs on Quality of Life (QOL) among Employees at Multinational Companies in Malaysia. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 112, 24–34.
Rodríguez, D. A., Rocha, M., Khattak, A. J., & Belzer, M. H. (2003). Effects of Truck Driver Wages and Working Conditions on Highway Safety: Case Study. Transportation Research Record, 1833(1), 95-102.
Walton, R. E. (1974). Improving the Quality of Work Life. Harvard Business Review, 18(3), 12-16.