ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคมกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

อกนิษฐ์ ถึงนาค
กิตติศักดิ์ แป้นงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 2) ศึกษาการรับรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคมกับระดับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย อัตราส่วนร้อยละ 70 ได้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามการรับรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ two-way ANOVA


            ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีประสบการณ์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ 6 ปีขึ้นไป มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ Line มากที่สุด 2) นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีระดับการรับรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคมกับการรับรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า สาขาวิชา เพศ และภูมิลำเนามีความสัมพันธ์กับการรับรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร บุญยพิทักษ์สกุล. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทัน ของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ.

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, ขจร ฝ้ายเทศ, ดวงแก้ว เงินพูนทรัพย์ และวัลลภา จันทรดี. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 10(2).

จินดารัตน์ บวรบริหาร. (2548). รู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ต การประเมินความเสี่ยง และพฤติกรรมการป้องกันตัวเองของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2557). การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้และเสริมทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ตในระดับเชิงลึกของเยาวชนไทยจากสามองค์ประกอบหลัก (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี

สุภาภรณ์ เกียรติสิน. (2562). การเข้าใจดิจิทัลกับพลเมืองไทย (Digital Literacy in 21st). นนทบุรี: บริษัท อัพทรูยูครีเอทนิว จำกัด. สำนักพิมพ์ ITM Mahidol

สาริศา จันทรอำพร. (2558). ภาวการณ์ปัจจุบันกับการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2561). เท่าทันสื่อ: อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.onde.go.th/assets/portals/1/files/Booklet%20สรุปผลการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของ.pdf

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560, จาก http://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2017.html.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2561 (ไตรมาส 1). กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ.