ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฮาร์ทส (HEARTS Model ) ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านชัฏฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฮาร์ทส (HEARTS Model) ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านชัฏฝาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำนวน 18 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ทดสอบก่อนและหลังการทดลองใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการเรียนการสอนฮาร์ทส จำนวน 32 แผน และ แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านคำศัพท์ จำนวน 10 ข้อ และแบบทดสอบการรู้ความหมายของคำ จำนวน 10 ข้อ รวมทั้งหมด 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการการจัดกิจกรรมรูปแบบการเรียนการสอนฮาร์ท (HEARTS Model) โดยใช้ค่ามิว ใช้กลุ่มประชากร
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย หลังทดลองการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการเรียนการสอนฮาร์ทสสูงกว่าก่อนการทดลอง ทั้งด้านความสามารถในการอ่านคำศัพท์ และการรู้ความหมายของคำ
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการส่งเสริมความสามารถการอ่าน เขียน การคิด และคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยและประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : ครุสภาลาดพร้าว.
กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2548). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฮาร์ทสที่มีต่อความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. สาขาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กันต์กนิษฐ์ เดชะปัญญา. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมการอ่านร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดเกี่ยวกับหนังสือของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาปฐมวัยศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นารีรัตน์ ศิลป์ศิริวานิช. (2553). การพัฒนาแบบฝึกเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
นิดาพร อาจประจญ. (2553). ทักษะการอ่านของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นภาษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
วรนาท รักสกุลไทย. (2548). แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถิรนันท์ อยู่คงแก้ว. (2541). ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสรุปกิจกรรมในวงกลมโดยใช้เทคนิคการสร้างสมุดเล่มใหญ่. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์. (2550). การศึกษาปฐมวัยร้อยดวงใจถวายในหลวง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
สุภา บุญพึ่ง. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การสอนภาษาแบบธรรมชาติ กับ แบบฮาร์ทส. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การจัดการการเรียนรู้).
พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุภัสสรา จตุโชคอุดม. (2553). การศึกษาความสามารถทางภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัยที่มีความ บกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึง จากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฮาร์ทส (HEARTS Instructional Model) ร่วมกับการทำหนังสือขนาดใหญ่ (Big Book). ปริญญานิพนธ์ กศ.ม (สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
สมทบ กรดเต็ม. (2557). ประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนาร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (2558). รายงานการประเมินผลอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1-4. ชัยนาท.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). บัญชีคำพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอน ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ
อนงค์ วรพันธ์. (2546). พัฒนาการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการทำสมุดเล่มเล็ก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Fennacy, J.W. (1988). Teaching and learning literacy in two kindergarten classrooms. EDDDissertation, University of Southern California