ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อลดความวิตกกังวลในการพูดภาษาญี่ปุ่นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

รัชพงศ์ พิลาคุณ
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง
นิธิพัฒน์ เมฆขจร

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความวิตกกังวลในการพูดภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง โดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว และ (2) เปรียบเทียบความวิตกกังวลในการพูดภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย ภายหลังการทดลองและระยะติดตามผล ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 75 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อลดความวิตกกังวลในการพูดภาษาญี่ปุ่น และแบบวัดความวิตกกังวลในการพูดภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .86 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองมีระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษาญี่ปุ่นน้อยลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ (2) ระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษาญี่ปุ่นของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองกับในระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คู่มือบริหารจัดการแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2560). กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2561, จาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/partnership-20170418-112331-723968.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

ฉวีวรรณ แววแสง. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อผ่อนคลายความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช. นนทบุรี.

ณัฐกานต์ มหาวรรณ. (2538). ผลของการใช้กิจกรรมแนะแนวที่มีต่อความวิตกกังวลของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

นพมาศ คงมีสุข. (2556). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาวจีสุจริตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดชัยมงคล จังหวัดอ่างทอง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

สมร ทองดี และปราณี รามสูตร. (2545). แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว. ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือและกิจกรรมแนะแนว หน่วยที่ 9. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อมรรัตน์ มะโนบาล. (2559). การศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนระดับต้นที่มีพื้นฐานในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกันในชั้นเรียนเดียวกัน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ

Shives, L. R. (2012). Anxeity disorder: Basic concepts of psychiatric-mental health nursing. (8thed.). Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.

Strang, R. (1957). The adolescent views himself. New York, McGraw-Hill.

Whitworth, R.H., & Cochran, C. (1996). Evaluation of integrated versus unitary treatments for reducing public speaking anxiety. Communication Education, 45, 306-314.