สาเหตุการสละสิทธิ์ของผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

นงค์ลักณ์ รุ่งวิทยาธร
อรสา อดิเรกผลิน

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุของการสละสิทธิ์ของผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)  และ 2) ศึกษาแนวทางในการป้องกันปัญหาการสละสิทธิ์ของ ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 สัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่สละสิทธิ์การเข้าศึกษา  ปีการศึกษา 2558 และ 2559 จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ของจำนวนผู้สละสิทธิ์ฯ และระยะที่ 2 สัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ประธานกรรมการประจำสาขาวิชา จำนวน 7 สาขาวิชา และเลขานุการคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา จำนวน  5  สาขาวิชา รวมจำนวน 13 คน


               ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบสาเหตุการสละสิทธิ์จาก 1) ปัญหาส่วนตัว ดังนี้ ปัญหาที่ทำงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาค่าใช้จ่าย และไม่มั่นใจว่าจะเรียนได้ด้วยตนเองในระบบการศึกษาทางไกล และ 2) ปัญหาจากหลักสูตรไม่ตรงกับที่คิดไว้ก่อนสมัคร หลักสูตรไม่ตรงกับงานที่ทำ และระยะที่ 2 ได้แนวทางป้องกัน 1) ปัญหาส่วนตัว ดังนี้ (1) เพิ่มทางเลือกในการจัดการศึกษาและจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น เรียนผ่านระบบ E-Learning  สัมมนาผ่านทาง Skype และให้มีการสื่อสารแบบ Real Time (2) วางแนวทางบริหารการเงินโดยให้มีการแบ่งจ่ายเป็นงวด (3) ให้มีระบบพี่เลี้ยงหรือมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการดูแล  และ 2) แนวทางป้องกันปัญหาที่เกิดจากหลักสูตรไม่ตรงกับความต้องการศึกษา หลักสูตรไม่ตรงกับงานที่ทำ  มหาวิทยาลัยควรมีนโยบายให้ทุกหลักสูตรต้องวิเคราะห์ความต้องการของหลักสูตรที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน จำนวนผู้สมัครเรียนในแต่ละปีการศึกษา และวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการของหลักสูตรในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงค์ (2541). การพัฒนาระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 20 ปี มสธ. แห่งการพัฒนา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทัศนีย์ ชาติไทย (2555). แรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นงค์ลักณ์ รุ่งวิทยาธร (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในระบบการศึกษาทางไกลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 14(2), 89-94.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542) ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. เล่มที่ 116 ตอน 74 ก.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ฝ่ายทะเบียนและวัดผลบัณฑิตศึกษา สำนักบัณฑิตศึกษา. (2559). ระบบสารสนเทศงานทะเบียนและงานบริการการศึกษา (ระดับบัณฑิตศึกษา). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานบัณฑิตศึกษา สำนักบัณฑิตศึกษา. (2550). คู่มืออาจารย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ. (2534). การศึกษาทางไกล. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อนันท์ งามสะอาด. (2556). สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society). สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2559 จาก http://innovationsforclass.blogspot.com/2013/11/learning-society.html