ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เชิงพาณิชย์ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เชิงสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ และสังคมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรใน 4 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อุดรธานี และศรีสะเกษ


       ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ 4 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในเชิงพาณิชย์ ทั้งหมด 591 สหกรณ์ โดยมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 18,200 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและโควต้าเพื่อได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 460 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


       ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เชิงพาณิชย์ 8 ด้าน พบว่าระดับความคิดของสมาชิกสหกรณ์ 6 ด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพการผลิต ความคุ้มค่าในการลงทุน ความปลอดภัย ความสวยงามและความเหมาะสม การใช้งาน ระดับความคิดเห็นของสมาชิกสหกรณ์ด้านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด และ ระดับความคิดเห็นของสมาชิกสหกรณ์ด้านการส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐ อยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้ภาพรวมของปัจจัยทั้ง 8 ด้านมีระดับความคิดเห็นระดับมาก จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าภาครัฐควรให้การสนับสนุนที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งการจัดหาแหล่งเงินทุนที่เพียงพอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2555). ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์และจัดทำ แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์จากข้อมูลดาวเทียมของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวัน 10 พฤษภาคม 2559 จาก www.dede.go.th

กันต์ ปานประยูร. (2560). ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ขนาด 8 กิโลวัตต์และความเป็นไปได้ของการขยายระบบ. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 4 (8). 25-38.
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์. (2560) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2559, จาก http://www2.dede.go.th/bhrd/old/web_display/home/home_ photovoltaic.html

ข้อมูลสหกรณ์การเกษตร. (2559). กรมส่งเสริมสหกรณ์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2559, จาก http://www.cdp.go.th

ข้อมูลสหกรณ์ในประเทศไทย. (2547). กรมส่งเสริมสหกรณ์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.cdp.go.th

จุฬารัตน์ จำปีรัตน์. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณรงค์ เส็งประชา. (2527). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ถวิล เลิศประเสริฐ. (2528). วิสาหกิจสหกรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์. การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปิติพีร์ รวมเมฆ. (2557). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาโครงการพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ยั่งยืน วาสารนักบริหาร, 34(1), 122-129.

พรสวัสดิ์ พิริยะศรัทธา. (2559). การใช้เซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อการประหยัดพลังงาน. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15 (1), 35-49.

พระราชบัญญัติสหกรณ์. (2542). กรมส่งเสริมสหกรณ์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.moac.go.th/law_agri-files-391991791823

พลังงานแสงอาทิตย์. (2559). สืบค้นเมื่อวัน 12 กรกฎาคม 2559 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พลังงานแสงอาทิตย์

พสุ สัตถาภรณ์. (2533). การบริหารงานสหกรณ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

มยุรี สุวรรนาวุธ และอุษณากร ทาวะรมย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมกับพฤติกรรมการออมของประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านเซิด อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 4 (1). 148-184.

เรื่องเล่าในโซล่าฟาร์ม (2559). บทความตอนที่ 1 พลังงานแสงอาทิตย์ อีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนพลังงานทดแทนไทย บริษัทผลิตไฟฟ้าจำกัดมหาชน สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2559, จาก http://www.egco.com/th/energy_knowledge_solar1.asp

วรธนพลฐ์ ศิริสังวรณ์ (2553). การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. วิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

วิวัฒน์ ชโนวิทย์. (2557). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่คิดตั้งบนหลังคาประเภทที่พักอาศัยในพื้นที่ที่แตกต่างกันของประเทศ ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สถิติข้อมูลพลังงาน (2559). สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2559, จากhttp://www.eppo.go.th/index.php/th/

สุกานดา กลิ่นขจร และนรรัฐ รื่นกวี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกร จังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษาอำเภอด่านขุนทด และอำเภอโนนสูง. (รายงานการวิจัย). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน: นครราชสีมา.

สุทัศน์ เยี่ยมวัฒนา และศศิมา เจริญกิจ. (2561). การศึกษาบ้านต้นแบบประหยัดพลังงานที่ใช้โซลาร์เซลล์. วิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9 (1), 25-41.

สุริยพันธุ์ สิงหนนิยม และ ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช (2557) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการยอมรับการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลแสงอาทิตย์, การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15, ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 28 มีนาคม 2557.

สุริยะ เจียมประชานรากร. (2524). หลักการสหกรณ์ออมทรัพย์. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

อำนวย เรืองวารี และคณะ. (2558). ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่สำหรับประยุกต์ใช้งานเกษตรกรรม. การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 8. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 4-6 พฤศจิกายน 2558.

Komatsua, S. Kanekoa Ram, S. M.Shresthab, P. & Pratim, G. (2011). Nonincome factors behind the purchase decisions of solar home systems in rural Bangladesh. Energy for Sustainable Development, 15 (3), 284-292.

Lemaire, X. (2011). Off-grid electrification with solar home systems: The experience of a fee-for-service concession in South Africa. Energy for Sustainable Development, 15 (3), 277-283.

Marvin A. Schaars. (1969). The Economics of Cooperative Marketing. New York: McGraw-Hill.

Tillmansa, A., Schweizer-Riesb, P. (2011). Knowledge communication regarding solar home systems in Uganda: The consumers' perspective. Energy for Sustainable Development, 15 (3), 337-346.

Ulsruda, K., Wintherb, T., Palitc, D, Rohracherd, H. & Sandgrene, J. (2011). The Solar Transitions research on solar mini-grids in India: Learning from local cases of innovative socio-technical systems. Energy for Sustainable Development, 15 (3), 293-303.