ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้เกิดช่องว่างในการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีตามระบบสากล GHS ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2558 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558 โดยสารเคมีเดี่ยวให้ดำเนิน การแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี และสารเคมีผสมจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งประกาศนี้เพื่อผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนเป็นไปตามระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมีที่เรียกว่า ระบบสากล GHS ของสหประชาชาติ จึงควรมีการติดตามสถานประกอบกิจการผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนว่า มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรบ้างในการดำเนินการตามประกาศนี้ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้เกิดช่องว่างในการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีตามระบบสากล GHS ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนภายในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 24 คนเลือกตามความสมัครใจเพื่อการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว เครื่องมือการวิจัยคือ 1) ผลการสำรวจสถานการณ์การจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนและ 2) ประเด็นการสนทนากลุ่มของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนที่ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคคือ งบประมาณ ความต้องการให้การอบรมแก่บุคลากรที่จัดทำฉลากตามระบบสากล GHS ให้เป็นปัจจุบัน ความต้องการความรู้ ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามข้อกำหนดของระบบสากล GHS การขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการตามระบบสากล GHS และความต้องการหน่วยงานเฉพาะของภาครัฐที่สามารถให้คำปรึกษาได้เรื่องระบบสากล GHS
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ฉลากของวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2558
ศริศักดิ์ สุนทรไชย. (2559). การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อการจัดการความปลอดภัยของสารเคมีด้านผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคโดยระบบสากล GHS เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศริศักดิ์ สุนทรไชย. (2561). การประยุกต์ระบบสากล GHS ในผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ใช้ในบ้านเรือนในจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศริศักดิ์ สุนทรไชย. (2562). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาศักยภาพการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีตามระบบสากล GHS ของสถานประกอบกิจการผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน. นนทบุรี : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2555). รายงานความก้าวหน้าตามแผนยุทธศาสตร์การนำ GHS ไปปฏิบัติ. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 มีนาคม 2560 จาก http://www.fda.moph.go.th/Pages/HomeP_D2.aspx
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2561) การนำระบบสากลการจำแนกประเภทความเป็นอันตรายและการติดฉลากที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals; GHS) มาใช้ปฏิบัติกับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข. ค้นเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 จาก www.fda.moph.go.th/sites/Hazardous/SitePages/GHS.aspx
United Nations. (2017). Globally harmonized system of classification and labelling of chemicals (GHS). (7th ed.)