ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชนของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

นิรัตน์ แย้มโอษฐ์
อดิสรณ์ พงษ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชน 2) ศึกษาลําดับความสําคัญของปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชน และ 3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชนของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลบางศรีเมือง เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาลบางกรวย และเทศบาลบางบัวทอง จำนวน 3,120 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชนของประชาชนในจังหวัดนนทบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการรักษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการฟื้นฟูและด้านการพัฒนา ตามลำดับ 2) ประชาชนในจังหวัดนนทบุรีให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชนด้านการฟื้นฟูแหล่งน้ำชุมชนมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาและด้านการรักษาแหล่งน้ำชุมชน ตามลำดับ และ 3) มีข้อเสนอแนะควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชนของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี โดยเน้นให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูแหล่งน้ำชุมชนเป็นลำดับแรก ร่วมกับส่งเสริมการพัฒนาและการรักษาแหล่งน้ำชุมชน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดตามการให้ความสำคัญของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. (ม.ป.ป.). ทรัพยากรน้ำ. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562, จาก https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/ subwater.htm

การประปาส่วนภูมิภาค. (ม.ป.ป.). การอนุรักษ์น้ำ. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562, จาก http://www.landfor tomorrow.org

ขนิษฐา เจริญลาภ, ปทุมทิพย์ ต้นทับทิมทอง, ปิยะดา วรรณพิณ, ประทีป มาสุข, กนกทิพย์ เล่ห์บ้านเกาะ, ดนัย พุทธนิยม และพัฒนชัย ชุนรักษ์. (2554). รายงานวิจัยการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและโรงเรียนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ณรงค์ วารีชล. (2551). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาเทศบาลสู่เมืองน่าอยู่ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบางพระ. (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.

เทศบาลนครนนทบุรี. (2559). รายงานสถาณการณ์มลพิษในเขตเทศบาลนครนนทบุรี พ.ศ. 2558. นนทบุรี: เทศบาลนครนนทบุรี.

นวภัทร จิตอรุณ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำในแขวงวัดกัลยาณี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ.

ปรีดา เจษฎาวรางกุล. (2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

พวงเพชร คงแก้ว. (2554). รายงานการติดตามผลการรณรงค์การให้การศึกษาและการมีส่วนร่วม แก่เด็กและเยาวชน ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองและลดโลกร้อน. กรุงเทพฯ: สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

แพรว ตรีรัตน์. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ: กรณีศึกษา ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

วรรณิการ์ ภูมิวงศ์พิทักษ์. (2540). ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการครอบครัวและชุมชนพัฒนา: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนดวงแข เขตปทุมวัน. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

โสภิดา สุรินทะ. (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของประชาชน: กรณีศึกษา ศูนย์การพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.