กลยุทธ์การสื่อสารและการใช้สื่อสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วนในสังคมไทยเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การสื่อสารและการใช้สื่อสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วนในสังคมไทยเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัว” เป็นการวิจัยแบบผสม (mixed methods research) ใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับสื่อ และผลกระทบจากสื่อที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวไทยในปัจจุบัน 2) ศึกษา “วิธีปฏิบัติที่ดี” (Best Practices) ที่เกี่ยวข้องกับสื่อที่ทำให้ความรุนแรงในครอบครัวไทยลดลง และ 3) เสนอแนวทางการใช้กลยุทธ์การสื่อสารและการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วนในการช่วยกันลดความรุนแรงในครอบครัวไทยในปัจจุบัน
การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ใช้วิธีการสุ่มเลือกแบบหลายขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพแบ่งออกเป็น 3 วิธีการหลักคือ 1) การถอดบทเรียน 2) การสนทนากลุ่ม 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ความรุนแรงและผลกระทบจากสื่อ (KAP) เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวไทยที่เกี่ยวข้องกับสื่อในปัจจุบัน ประกอบด้วย (1) ลักษณะประชากร (2) พฤติกรรมการบริโภคสื่อและการเข้าถึงสื่อประเภทต่างๆที่มีการนำเสนอความรุนแรงในครอบครัว (3) ผลกระทบจากสื่อประเภทต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความรุนแรง ทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงจากสื่อประเภทต่างๆ 2) ประเด็นเกี่ยวกับ “วิธีปฏิบัติที่ดี” พบว่าหน่วยงานภาครัฐ องค์กรสื่อ องค์กรสาธารณประโยชน์ (NGO) ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน จะเน้นการทำงานเชิงบูรณาการ ทั้งการบูรณการสื่อที่ใช้ และการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 3) แนวทางการใช้กลยุทธ์การสื่อสารและการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วนในการช่วยกันลดความรุนแรงในครอบครัวไทยในปัจจุบัน พบว่า (1) ใช้ประโยชน์จากบทเรียนที่ได้จาก “วิธีปฏิบัติที่ดี” ต่างๆ (2) ศึกษาลักษณะประชากรของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับทั้งสื่อ (3) ใช้ประโยชน์จากกลุ่มประชากรเกือบทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับทั้งสื่อ และความรุนแรงในครอบครัวที่พบว่าคนเหล่านี้มีการรับรู้ หรือความรู้ ที่ดี ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงในครอบครัวทุกประเภท รวมทั้งมีทัศนคติ หรือความรู้สึกที่ดีที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงในครอบครัวทุกประเภท (4) หน่วยงานในระดับนโยบาย ต้องให้ความสำคัญเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสื่อการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความรุนแรงในครอบครัว
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2560). เทคโนโลยีสารสนเทศและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ประจำปี 2559-2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2550). พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
จะเด็จ เชาวน์วิไล. (2560). สถิติการกระทำความรุนแรงในครอบครัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล.
รณชัย คงสกนธ์ และนฤมล โพธิ์แจ่ม. (2551). พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกฎหมายอาญา. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561, จาก http://resource.thaihealth.or.th/library/10924
แรมรุ้ง วรวัธ. (2561). โครงการเร่งด่วน Flagship สังคมไทยไร้ความรุนแรง. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
วิศิษฐ์ ผลดก. (2561). แนวคิดเกี่ยวกับทางออกปัญหาความรุนแรงในครอบครัว. กรุงเทพฯ: กองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
องค์การอนามัยโลก. (1995). ประเภทของความรุนแรง. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2561, จาก https://www.who.int/violence_injury_prevention/violence/world_report/en/chap1.pdf.
องค์การอนามัยโลก. (2017). สถิติการกระทำความรุนแรงต่อสตรีและครอบครัว. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2561, จาก https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/violence-against-women
Andre, D. & Mervyn, J. (2019). The Effect of Violence and Competition within Video Games on Aggression. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.chb.2019.05.002.
Brad J. Bushman. (2016). Teaching Students about Violent Media Effects. Retrieved December 13, 2018, from https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0098628318762936.