การระบุถึงคนพิการในกฎหมายการสื่อสารของประเทศไทย

Main Article Content

ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การระบุถึงคนพิการในกฎหมายงานสื่อสารในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์คนพิการในประเทศไทย ตลอดจนการให้ความหมาย และการระบุถึงสิทธิ หน้าที่ทางด้านงานสื่อสารของคนพิการในประเทศไทย ผ่านกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยงานวิจัยชิ้นนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร จากเอกสาร ประกาศ กฎหมาย และเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หลังจาก พ.ศ. 2540


การศึกษาพบว่า สถานการณ์คนพิการและงานสื่อสารในประเทศไทยมีการระบุถึงสิทธิและหน้าที่ของคนพิการครั้งแรกในกฎหมายรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 เป็นฉบับแรก โดยมีการกล่าวถึงภาพรวมเรื่องความเสมอภาค และความเป็นมนุษย์ แต่ยังไม่ได้ระบุถึงด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ ต่อมาได้มีการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทย พ.ศ. 2541 ซึ่งมีการระบุถึงสิทธิของคนพิการในแง่ของผู้รับสาร ที่ควรจะได้รับรู้ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์เทียบเท่ากับบุคคลอื่นๆในสังคม โดยเป็นข้อกำหนดฉบับแรกที่กล่าวถึงองค์ประกอบเชิงรูปธรรมในการเอื้อให้เกิดการสื่อสารของคนพิการ ทั้งนี้ ในปฏิญญาดังกล่าว เริ่มมีการระบุถึงวิธีการ เช่น การใช้อักษรเบรลล์ และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยให้คนพิการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น แต่ยังไม่ระบุเรื่องกระบวนการจัดทำให้เป็นรูปธรรม โดยหลังจากนั้น ได้มีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ทำให้เกิดความเป็นรูปธรรมในเรื่องสิทธิคนพิการและการสื่อสารใน 2 สายหลัก คือ สายโทรคมนาคม และสายการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2559 ได้มีการออกประกาศเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนพิการให้เข้าถึงสื่อโทรทัศน์ได้มากขึ้น โดยกำหนดให้มีการให้บริการเสียงบรรยายภาพ คำบรรยายแทนเสียง และล่ามภาษามือ ตามอัตราที่กำหนด ทั้งนี้ได้ระบุถึงบทลงโทษ และมาตรการส่งเสริมไว้อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ปรากฏการให้บริการตามประกาศนั้นอย่างเป็นรูปธรรม จนต้องมีการออกประกาศเพื่อเลื่อนการบังคับใช้ออกไปอีกถึงสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2560


การระบุถึงคนพิการในกฎหมายการสื่อสารในประเทศไทย แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ (1) การระบุถึงคนพิการในงานสื่อสารโทรคมนาคมและการเข้าถึง โดยมีการระบุในรายละเอียดของอุปกรณ์และบริการเสริม และ (2) การระบุถึงคนพิการในงานสื่อสารมวลชน ซึ่งมีการกล่าวถึงรายละเอียดไว้ 2 ส่วนย่อยคือ มิติเกี่ยวกับบริการเสริมที่ทางผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จะต้องจัดให้มีบริการ และมิติเรื่องการเข้าไปมีส่วนร่วมในองค์กรผลิตรายการโทรทัศน์ โดยเมื่อพิจารณาจากพัฒนาการการระบุถึงคนพิการในกฎหมายการสื่อสารของประเทศไทยแล้ว พบว่ามีการพัฒนาในเชิงรูปธรรมขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้พัฒนาการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับชุดความคิดด้านสังคมสงเคราะห์ในการสร้างอัตลักษณ์ของคนพิการ รวมถึงอาจจะต้องมีการเพิ่มเติมความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน ในการเปิดโอกาสและการประชาสัมพันธ์การร่วมมือและการเข้าถึงของคนพิการในประเทศไทย เพื่อเป็นการพัฒนาความเท่าเทียมกันในสังคมได้ต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารและบริการสื่อสาธารณะสำหรับคนพิการ. (2554, 20 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอน 38 ก, หน้า 9 – 13.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2562). รายงานสถานการณ์ข้อมูลด้านคนพิการในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562, จาก http://nep.go.th/sites /default /files/images/document/REPORT_PWDS_Dec58.pdf.

การคุ้มครองสิทธิคนพิการตามกฎหมายไทย. (ม.ป.ท.). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จากhttp://nep.go.th/sites/default/files/files/document/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201_1.pdf.

ตรี บุญเจือ. (2562). คนพิการกับการเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากกิจการโทรทัศน์. วารสารวิชาการ กสทช., 4(4), 120 – 147.

ไทยพีบีเอส. [ม.ป.ป.]. วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / ค่านิยม. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563, จาก http://org.thaipbs.or.th/ organization/vision

ธัชพงศ์ ชาลานุมาศ. (2560). แนวทางการพัฒนาเนื้อหาในสื่อโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านความเท่าเทียมของคนพิการ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ธาริณี จันทรักษา. (2559). สื่อที่ดี สื่อที่สร้างสรรค์ ไม่ควรละเลยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารให้ทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียม. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก http://www.academicthaipbs.com/index.php/2016/03/10/media-for-accessibility/.

ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความต้องการรูปแบบรายการโทรทัศน์ของคนพิการทางสายตา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ ให้เข้าถึงและรับรู้หรือใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์. (2559, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 35 ง, หน้า 6 – 14.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ ให้เข้าถึงและรับรู้หรือใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์. (2560, 4 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 97 ง, หน้า 35 - 36.

พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม. (2544, 9 พฤศจิกายน). พระราชบัญญัติ สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563, จาก http://www.nectec.or.th/pld/indicators/data/policy/working.pdf.

พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2550, 27 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอน 61 ก, หน้า 8 – 24.

พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม. (2553, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอน 78 ก, หน้า 1 – 46.

พระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ. (2551, 14 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอน 8 ก, หน้า 1 – 25.

ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยบริการล่ามภาษามือ. (2552, 27 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 105 ง, หน้า 19 – 24.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอน 55 ก, หน้า 1 – 99.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอน 47 ก, หน้า 1 – 127.

ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร. (2555). การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของคนพิการหูหนวกไทย: ภาพยนตร์. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 8(11), 4-19.

ศศโสฬส จิตรวานิชกุล. (2541). การศึกษาพฤติกรรม ความสนใจ และความต้องการในการเปิดรับสื่อของคนตาบอดในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และ สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือการจัดและผลิตรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ. วรศิลป์การพิมพ์ 89: กรุงเทพฯ.

IHCD. [N.P.]. History of Inclusive design. Retrieved from March 21, 2020, from www.humancentereddesign.org /inclusive-design/history.

Littlejohn, K. and Foss, K. A. (2008). Theories of Human Communication (9th Edition). CA: Cengage Learning.