การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สำหรับหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ในระบบการเรียนการสอนทางไกล

Main Article Content

เอกพล กาละดี
สมโภช รติโอฬาร
อรวรรณ น้อยวัฒน์
สุณัฐชา แสงมณี

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติทักษะวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สำหรับหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ในระบบการเรียนการสอนทางไกล โดยดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการศึกษาเชิงปริมาณ และการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อออกแบบรูปแบบการฝึกปฏิบัติทักษะวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนในระบบการเรียนการสอนทางไกล และตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ


ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการฝึกปฏิบัติทักษะวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สำหรับหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ในระบบการเรียนการสอนทางไกล แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1) การฝึกปฏิบัติทักษะเฉพาะตามสมรรถนะวิชาชีพ รวม 5 กลุ่มวิชา คือ (1) กลุ่มส่งเสริมสุขภาพและอนามัยชุมชน (2) กลุ่มป้องกันโรค ควบคุมโรค ระบาดวิทยา สถิติและการวิจัยทางด้านสาธารณสุข (3) กลุ่มตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น การดูแลช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ (4) กลุ่มอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม และ (5) กลุ่มบริหารสาธารณสุขและกฎหมายสาธารณสุข แต่ละกลุ่มวิชาสร้างเสริมทักษะโดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์ การเรียนรู้จากการสาธิต ได้แก่ ดีวีดีประจำชุดวิชา การสอนเสริมแบบเข้ม การเรียนการสอนออนไลน์ การสอนเสริมผ่านทางอินเทอร์เน็ตและดาวเทียม และกิจกรรรมประจำชุดวิชา 2) การฝึกทักษะบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน โดยฝึกงานในสถานบริการสุขภาพและชุมชน ได้แก่ การฝึกด้วยตนเอง การจัดทำโครงงาน และการฝึกที่มีอาจารย์ดูแลและประเมินผล ได้แก่ การฝึกเสริมทักษะ การฝึกตามมอบหมายและการอบรมเข้ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศสุดา รัชฎาวิศิษฐกุล. (2547). การพัฒนาการเรียนการสอนที่สนองต่อรูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชนว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2562. (2562, 13 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 41 ง. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/041/T_0021.PDF.

เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน. (2560). คู่มือการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2559). มคอ.2 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสาธารณสุขชุมชน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560, จาก https://vpn.stou.ac.th/+CSCO+0h756767633A2F2F72667265697670722E666762682E6E702E6775++/EDOCUMENT/Oaa/OAA_Info/-CSCO-3h--cur/-CSCO-3h--Information_Book/-CSCO-3h--5_hel.html.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2559). หลักสูตรการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2556-2559. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน. (2561). ร่างข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชนว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน. สภาการสาธารณสุขชุมชน. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://ccph.or.th/index.php?p=filesdownload-all.

สมบูรณ์ ลิขิตยิ่งวรา และสุมาลี สังข์ศรี. (2556). การพัฒนารูปแบบการศึกษาทางไกลสำหรับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 309-321.

สมโภช รติโอฬาร, พรทิพย์ กีระพงษ์, อรวรรณ น้อยวัฒน์, สุณัฐชา แสงมณี และเอกพล กาละดี. (2559). การประเมินหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาตร์สุขภาพ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เสาวณีย์ เต็งสุวรรณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเลขานุการสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(2), 295-304.

Gagnon, G.W.& Collay, M. (2001). Designing for learning. Six Elenmentsin Constructivist Classroms.Thousands. Oaks: Corwin PressInc.

Gunawan, S., Soetamo, J., Sajidan,S., & Soeharto, S. (2016). The Development of Blended Learning-based Self-learning on Classroom Action Research Training Material to Improve Teachers Professionalism. International Journal of Education and Research. 4(9), 702-715.

Kolb, D.A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Mackay, M.T., Brown, R.A., Joyce-McCoach. J.T. & Smith, K.M. (2014). The Development of a Model of Education for Casual Academic Staff Who Support Nursing Students in Practice. Nurse Education in Practice, 14(3), 281-285.