การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ TSOI กับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น

Main Article Content

เจษฎา ราษฎร์นิยม
กนกนาฎ มงคลสวัสดิ์
อารยา ลี
มนมนัส สุดสิ้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ TSOI และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ TSOI และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม และแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 กลุ่มทดลองที่ 1 (n = 32) ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ TSOI และกลุ่มทดลองที่ 2 (n = 28) ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ TSOI 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ข้อมูลถูกวิเคราะห์โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ TSOI และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) คะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ TSOI และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพิชญ์ ฤทธิร่วม, ธนานันต์ กุลไพบุตร, และสำราญ กำจัดภัย. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่องการเคลื่อนที่แนวตรง โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับรูปแบบการสอนของโพลยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, 11(30), 63–73.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดวิเคราะห์=Analytical thinking. กรุงเทพฯ: ซัคเซส.

คณิศร เสมพืช, และอัคพงศ์ สุขมาตย์. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(2), 246–261.

จตุพร วงค์สม, และพงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว. (2559). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่เสริมด้วย การใช้ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(2), 47–59.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติรัตน์ ปัญญาเยาว์, และวีระพงษ์ แสง-ชูโต. (2561). ผลการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ผังมโนมติรูปตัววี เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(2), 100–114.

ทิพวรรณ อิ่นแก้ว, สุดาพร ปัญญาพฤกษ์, และนพพร ธนะชัยขันธ์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 51–64.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพฺ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี, ศิริชัย กาญจนวาสี, พิมพันธ์ เตชะคุปต์, และศรินธร วิทยะสิรินันท์. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอร์มาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ธิดารัตน์ คำแพง, กัญญารัตน์ โคจร, และสุจินต์ อังกุราวิรุทธ์. (2560). การพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามทฤษฎีการเรียนรู้ ของ Kolb โดยยึดรูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts), 10(3), 567–584.

ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์. (2558). แนวคิดทางเลือกของนักเรียนในวิชาฟิสิกส์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 202–209.

นิรมล ศตวุฒิ. (2560). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พุทธิพงษ์ ศุภมัสดุอังกูร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E). Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts), 9(1), 1349–1365.

แพรวนภา โสภา, อนันต์ ปานศุภวัชร, และถาดทอง ปานศุภวัชร. (2561). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น และเกม เรื่อง ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, 10(28), 113–123.

ศิริรัตน์ คล้ายนิล. (2558). ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ TSOI (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น พื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/Announcement Web/PDF/SummaryONETM3_2561.pdf

สมบัติ การจนารักพงศ์. (2549). เทคนิคการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบ 5 E ที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สมบูรณ์ รัตนบุญศรีทอง. (2553). ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI ที่มีต่อมโนทัศน์เรื่องพันธะเคมีและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สสวท. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุภาพร แหลมแก้ว, เนติ เฉลยวาเรศ, และศรินทิพย์ ภูสําลี. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติในการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย กับวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(3), 190–199.

อภิสิทธิ์ ธงไชย, ขวัญ อารยะธนิตกุล, เชิญโชค ศรขวัญ, นฤมล เอมะรัตต์, และรัชภาคย์ จิตต์อารี. (2550). การประเมินผลการเรียนรู้แบบใหม่โดยการใช้ผลสอบก่อนเรียนและหลังเรียน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 11(21), 86–94.

อุไรวรรณ ปานีสงค์, จิต นวนแก้ว, และสุมาลี เลี่ยมทอง. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิค การจัดแผนผังมโนทัศน์เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 134–147.

Agung, S., & Schwartz, M. (2007). Students’ Understanding of Conservation of Matter, Stoichiometry and Balancing Equations in Indonesia. International Journal of Science Education, 29(13), 1679–1702.

Hake, R. (1998). Interactive-Engagement Versus Traditional Methods: A Six-Thousand-Student Survey of Mechanics Test Data for Introductory Physics Courses. American Journal of Physics, 66(1), 64–74.

Kolb, D. A., Rubin, I. M., & McIntyre, J. M. (1974). Organizational Psychology: an Experiential Approach. Englewood Cliffs, N.J: Prentice-Hall.

Lemlech, J. K. (1994). Curriculum and Instructional Methods for the Elementary and Middle School. (3rd Ed.). New York: Macmillan College Publishing Company.

Sumfleth, E., & Telgenbüscher, L. (2001). Improving the Use of Instructional Illustrations in Learning Chemistry. In Behrendt H. et al. (eds) Research in Science Education - Past, Present, and Future (pp. 289–294). Retrieved from https://link.springer.com/chapter/10.1007%2F0-306-47639-8_40

Tsoi, M. F. (2009). Applying TSOI Hybrid Learning Model to Enhance Blended Tearning Experience in Science Education. Interactive Technology and Smart Education, 6(4), 223–233.

Tsoi, M. F., & Goh, N. K. (2008). Addressing Cognitive Processes in e-learning: TSOI Hybrid Learning Model. US-China Education Review, 5(7), 29–35.

Yayon, M., Mamlok-Naaman, R., & Fortus, D. (2012). Characterizing and Representing Student’s Conceptual Knowledge of Chemical Bonding. Chemistry Education Research and Practice, 13(3), 248–267.