แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยด้านการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

ปาลีรัตน์ การดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการทำวิจัยด้านการศึกษาทางไกลของอาจารย์ และ 2) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการวิจัยด้านการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัย โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้  1) กลุ่มอาจารย์ประจำสาขาวิชาและสำนัก จำนวน 363 คน หาขนาดกลุ่มตัวอย่างและสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วนของแต่ละหน่วยงาน จำนวน 190 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับ 115 คน คิดเป็นร้อยละ 60.53  เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล  โดยการแจกแบบสอบถามให้แก่อาจารย์ตามหน่วยงาน  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาทางไกล ได้แก่ ผู้บริหารและคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการวิจัยด้านการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน  เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสนทนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยจัดสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


                สรุปผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาการทำวิจัยด้านการศึกษาทางไกล ในภาพรวมพบว่าคณาจารย์มีปัญหาการทำวิจัยด้านการศึกษาทางไกลอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ดังนี้ ด้านงบประมาณ ( = 3.11) ด้านเวลา ( = 3.07) ด้านความรู้และการสนับสนุน สิ่งอำนวยความสะดวก และวัสดุอุปกรณ์ มีจำนวนเท่ากัน ( = 2.87) และ ด้านการเผยแพร่และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ( = 2.75)

  2. แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยด้านการศึกษาทางไกล มีดังนี้ 1) กำหนดนโยบายและแผนให้ชัดเจนทั้งระยะสั้น กลาง และยาว  2) จัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องการศึกษาทางไกล และการทำวิจัย  3) จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรวิจัยให้เพียงพอ และสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย  4)  กระจายงบประมาณทุนวิจัยด้านการศึกษาทางไกลให้สาขาวิชาและสำนัก  5) สร้างบรรยากาศความร่วมมือด้านการวิจัย ทำวิจัยร่วมกันระหว่างคณาจารย์ต่างสาขาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และ 6) จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านการวิจัยการศึกษาทางไกลให้ทราบอย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2556-2560). ฝ่ายวางแผนและวิจัย กองแผนงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระยะ 15 ปี (พ.ศ.2556-2570). ฝ่ายวางแผนและวิจัย กองแผนงาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภีรวัฒน์ นนทะโชติ. (2554). การพัฒนาระบบการบริหารงานวิจัยด้านการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2529). การศึกษาทางไกล. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์วิจัยการศึกษาทางไกล. (2557). คู่มือการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยด้านการศึกษาทางไกล. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุมาลี สังข์ศรี. (2549). การวิจัยด้านการศึกษาทางไกล. เอกสารประกอบการนำเสนอ (Power point).

สุมาลี สังข์ศรี และคณะ. (2546). การศึกษาทางไกลในมหาวิทยาลัยที่คัดสรร : ประสบการณ์ประยุกต์สู่การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลของไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.

Yamane. Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row. Publishers.