ผลการใช้ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเพื่อพัฒนาความสามารถทางด้านการพูดภาษาอังกฤษและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

บุปผา ปงลังกา
ศิตา เยี่ยมขันติถาวร
อารีรักษ์ มีแจ้ง

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถทางด้านการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ภาพยนตร์แอนนิเมชั่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ และ (2) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้ภาพยนตร์แอนิเมชั่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่


                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 47 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ภาพยนตร์แอนิเมชั่น แบบทดสอบความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้ภาพยนตร์แอนิเมชั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


                ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความสามารถทางด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพร้าววิทยาคมที่ได้รับการสอนโดยใช้ภาพยนตร์แอนิเมชั่นหลังเรียนสูงกว่าความสามารถดังกล่าวก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) ความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กลุ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยา (ไกวัลวณิช) สุวรรณกายี. (2555). กลวิธีการเรียนการสอน. ใน ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางภาษาอังกฤษ (หน่วยที่ 5). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

กุศยา แสงเดช. (2545). ภาษาอังกฤษภาคปฏิบัติสำหรับครูประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.

จันตรี คุปตะวาทิน. (2554). การรวบรวมข้อมูลการวิจัย. ใน ประมวลสาระชุดวิชาวิทยานิพนธ์ 2. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชม ภูมิภาค. (2527). เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ประสานมิตร.

ณัฐชนา ระวิวงศ์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สื่อ ดี วี ดี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2546). Multimedia ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เคทีพี แอนด์คอนซัลท์.

นิพนธ์ คุณารักษ์. (2551). การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่น Animation analysis and critical. วารสารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญเพ็ง อินลา. (2551). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อวีซีดี (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). หลักการสอนพูด. กรุงเทพฯ: รำไทยเพรส.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

รติ หอมลา. (2553). การส่งเสริมความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและความสามารถในการฟังของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยการใช้ภาพยนตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2536). เทคโนโลยีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

วิภา อิโน. (2551). การใช้ภาพยนตร์เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2546). สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: อีแอนด์ไอคิว.

วิสิฐ จันมา. (2547). การออกแบบภาพยนตร์ Animation ลักษณะไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิเชียร เหตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. วารสารข่าวสารวิจัยการศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 หน้า 8-11.

วิไลพร ธนสุวรรณ. (2530). เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา ED, SEC 451 เชียงใหม่).

วิไลพร ธนสุวรรณ. (2536). เทคนิคการสอนการเขียนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษา. กระบวนวิชา 058457 เชียงใหม่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เอกสารคำสอน).

ศรีวรรณ์ หมื่นพล. (2548). การใช้ภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการฟังภาษาอังกฤษ และความเข้าใจในวัฒนธรรมทางภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สนิท ตั้งทวี. (2538). การใช้ภาษาเชิงปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สมาน งามสนิท. (2523). ระบบเครื่องฉาย. ในเอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา (หน่วยที่ 8). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สังเวียน สฤษดิกุล. (2531). พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษ 2 Teaching Behavior in English 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2539). การสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสำนักงานทดสอบทางการศึกษา. (2537). กิจกรรมส่งเสริมภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อนุชา เสรีสุชาติ. (2548). การบริหารการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อรพรรณ สุธาพันธ์. (2551) กิจกรรมการเรียนโดยใช้ภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษและคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อัจฉรา วงศ์โสธร. (2527). การสร้างข้อสอบวัดความสามารถในการสื่อความหมายทางภาษา (Pragmatic Communicative) กับการทดลองทางภาษาระดับ Advanced, ความสอดคล้องระหว่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกับหลักสูตรภาษาอังกฤษ และแนวโน้มในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรา วงศ์โสธร. (2539). การทดสอบและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรา วงศ์โสธร. (2555). การวัดผลและประเมินผลวิชาภาษาอังกฤษ. ใน ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางภาษาอังกฤษ (หน่วยที่ 9). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัศวพร แสงอรุณเลิศ. (2551). การใช้ภาพยนตร์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษและการคิดอย่างวิจารณญาณของนักเรียนระดับก้าวหน้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

อาภรณ์ชนิศ แสงสังข์. (2547). การใช้ภาพยนตร์การ์ตูนประกอบตัวอักษรบรรยายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษ การฟังเพื่อความเข้าใจและจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อุบล สรรพัชญพงษ์. (2555). ปัญหาการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ. ใน ประมวลสาระชุดวิชาหลักการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและบริบททางภาษา. (หน่วยที่ 13). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ถิรนันท์ วนวัชศิริวงศ์ และสุจิรา สุวีรานนท์. (2542). จินตทัศน์ทางสังคมในภาษามวลชนศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์มิวสิควิดีโอ ข่าวและโฆษณา. กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุสิธารา จันตาเวียง. (2553). งานวิจัยสาขาวิชาบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์. สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

Belgin Tanriverdi. (2007). Film Analysis through Linguistic base. Retrieved March 12, 2013, from http://files.eric.ed.gov.

Brown, D. H. (1987). Principle of Learning and teaching. New Jersy: Prentre Hall Inc.

Bygate, Martin. (1991). Speaking: Language Teaching, a Scheme for Teacher Education. Oxford: Oxford University Press.

Dale, E. (1985). Audio visual method in teaching. New York: Dryden Press.

Finocchiaro, M, and Brumfit, C. J. (1983). The Functional-National Approach: From Theory to Practice. New York: Oxford University Press.

Gardner, R. C. (1985). Social Psychology and Second Language Learning: The Role of Attitudes and Motivation. London, GB: Edward Arnold.

Hemei, J. (1997). Teaching with video in an English class. English Teaching Forum, 35(2), 45-46.

Hu, S. F. (2006). “On teaching non-English majors listening and speaking through videos”. China English Language Education Association Journal. 29 (2), 42-48. Hu, S.F. (2006).

Lavery, C. (2008) “Using Computer Animation and Illustration Actives to Improve High School Students’ Achievement in Molecular Genetics”. Journal of Research in Science Teaching, v45 n3 p273-292. John Wiley & Sons.

Kajornboon, B. (1989). Video in language class. PASAA, 19 (1), 41-49.

Kivy Peter. (2004). The Blackwell Guide to Aesthetics. Blackwell Publishing Ltd. (2004).

Norma Prayogi. (2013). “Improving Students' Speaking Ability By Using Cartoon Film.” English Education, Language and Art Faculty, State University of Surabaya. Retrieved June 10, 2013, from http: //ejournal.unesa.ac.id/article/6207/23.

Rizki Stiviani and Nur Hayati. (2011). “Using animation clips can improve the listening skill of the eighth graders of SMPN 21 Malang.” Retrieved March 22, 2013, from http://jurnal- online.um.ac.id.

Scott, R. (1981). “Speaking” in Communication in the Classroom. Longman Group, Ltd.

Stevick, Earl W. (1976). “Memory Meaning & Method. Massachusetts: Newbury House”. Retrieved March 12, 2013, from http://englishbsru.blogspot.com.