ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วัฒนา นนทชิต
เกศสุดา แย้มแสง

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานพัสดุ ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานพัสดุกับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 234 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation)


                ผลการศึกษา พบว่า การบริหารงานพัสดุของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด  และมีประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุอยู่ในระดับมากเช่นกัน


                การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานพัสดุกับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยการบริหารงานพัสดุที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการบำรุงรักษาพัสดุ มีความสัมพันธ์กับ ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ โดยเฉพาะด้านการบริหารงานตามกฎระเบียบ และเกิดความพึงพอใจแก่บุคลากร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์. (2530). การบริหารและพัฒนาองค์การ.ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการบริหารและพัฒนาองค์การ(หน่วยที่2).นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ติน ปรัชญพฤทธิ์ และอิสระ สุวรรณอุบล. (2514). ปทานุกรมการบริหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สมาคมสงเคราะห์.

ทรงศิริ พันธุเสวี. (2550). การประเมินผลเบื้องต้นมาตรฐานความโปร่งใสหน่วยงานภาครัฐในกรุงเทพมหานคร. รายงานผลการศึกษา, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพมหานคร.

ปรีชา จำปารัตน์ และไพศาล ชัยมงคล. (2549). การบริหารงานพัสดุ ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช.

ภานุมาศ ศรีสุชาติ. (2547). การบริหารงานธุรการ การเงิน และพัสดุของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่6 พ.ศ. 2546 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 7 ใน หนังสือเวียนซ้อมความเข้าใจและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันหรือลดโอกาสการสมยอมกันในการเสนอราคา โดยสวัสดิการสำนักนายกรัฐมนตรี.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535” (2535,31มกราคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 7.

สามารถ ผดุงเกษมคง. (2542). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอในเขตการศึกษา 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทิศ ไชยศรี. (2544). ปัญหาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Ada, L.A. and Anderson. 1975. Access to Medical Care. Ann Arbor, Michigan: Health Administration Press.

Amuso, Charics David. (1988). The Role of the Executive Director in Pennsylvania’s Intermediate Unit. Dissertation Abstracts International.52 (10) : 4248.

Luthans, Fred. (1995). Organizational behavior (7th ed). New York: McGraw-Hill.

OECD. (1997, September). Globalization: What challenges and opportunity for Government. Retrieve From www.oecd.org/puma/online.htm, 8 May 2014.