การพัฒนาความพร้อมของสถานที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันทีในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตที่ใช้บังคับเป็นกฎหมายในจังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดผลสองครั้ง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาความพร้อมของสถานที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันทีในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (2) เปรียบเทียบการพัฒนาความพร้อมของสถานที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันทีในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความพร้อม และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต
ประชากร คือ สถานที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันทีที่ได้รับอนุญาตผลิตขนมอบ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ทะเลสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยวในจังหวัดสมุทรสาครที่มีผลการประเมินสถานที่ผลิตอาหารทุกหมวดหรือแต่ละหมวดต่ำกว่าร้อยละ 70 และผู้ผลิตอาหารสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความพร้อม จำนวน 60 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) โปรแกรมพัฒนาความพร้อม (2) แบบประเมินสถานที่ผลิตอาหารด้วยตนเองตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต และ (3) แบบวัดความรู้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที การทดสอบ Wilcoxon และMann-Whitney U
ผลการวิจัย พบว่า (1) สถานที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันทีมีการพัฒนาความพร้อมในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตดีขึ้น (2) ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความพร้อม ความรู้ของผู้ผลิตอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การประเมินผลการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตด้วยตนเองของผู้ผลิตอาหารไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การประเมินผลการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตของเจ้าหน้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการประเมินผลการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตด้วยตนเองของผู้ผลิตอาหารกับเจ้าหน้าที่หลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความพร้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต คือ สถานที่ผลิตอาหารขาดบุคลากรที่มีความเข้าใจในหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
ชูศักดิ์ เอกชน, สมจิตต์ เตียวสุนทรวงศ์, วีระพล ผ่องสุภา, จารุณี ทองไพบูลย์กิจ, พูนทรัพย์ เทพวงษ์ศา, ภัควี ฤทธิ์ดี … อมรรัตน์ โคตุวงศ. (2552). แนวโน้มตลาดอาหารพร้อมทาน. อุตสาหกรรมสาร, ปีที่ 52 . สืบค้นจากhttp://e-journal.dip.go.th/LinkClick.aspx? fileticket=KZNkH9fTng0% 3D&tabid=70
ดารณี หมู่ขจรพันธ์. (2544). เอกสารวิชาการ เรื่อง การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ความพร้อมของสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตที่บังคับใช้เป็นกฎหมาย. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
ฝ่ายกฎหมายอาหารและยา. (2552). สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2552. สมุทรสาคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร.
ฝ่ายกฎหมายอาหารและยา. (2553). สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2553. สมุทรสาคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร.
ฝ่ายกฎหมายอาหารและยา. (2554). สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2554. สมุทรสาคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร.
ฝ่ายกฎหมายอาหารและยา. (2555). สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2555. สมุทรสาคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร.
ฝ่ายกฎหมายอาหารและยา. (2556). สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2556. สมุทรสาคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร.
วันชัย ศรีทองคำ. (2548). เอกสารวิชาการ เรื่อง การศึกษาสถานกาณณ์การบังคับใช้กฎหมาย GMP กรณีศึกษาสถานที่ผลิตอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2553, 13 ธันวาคม). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แก้ไขเพื่อเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 (ฉบับที่ 2) (2553).
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2554, 29 กันยายน). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แก้ไขเพื่อเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 (ฉบับที่ 2) (ฉบับแก้ไข) (2554).
Sundström, A. (2005). Self-assessment of knowledge and abilities (A literature study). Umea University, Sweeden.