ฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนตามระบบสากล

Main Article Content

ศริศักดิ์ สุนทรไชย

บทคัดย่อ

              ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการนำการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก หรือระบบสากล GHS มาบังคับใช้โดยมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2558 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558 ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านการแสดงฉลากไปเป็นระบบสากล GHS ของสารเดี่ยวให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1  ปี และสารผสมให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5  ปี


             จากการทดสอบตัวอย่างฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนตามระบบสากล GHS ในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปพบว่า รูปสัญลักษณ์บางอันยังสื่อความหมายไม่ชัดเจน ควรปรับให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาความเป็นอันตราย  ข้อความแสดงความเป็นอันตรายและข้อความแสดงข้อควรปฏิบัติของสารเคมีควรชัดเจน สั้น และเข้าใจง่าย   ขนาดของฉลากควรให้เหมาะสมกับขนาดของผลิตภัณฑ์ ข้อความบนฉลากควรสังเกตเห็นได้ชัดเจน อ่านได้ง่าย  ฉลากควรเพิ่มสีสันให้สะดุดตา และดึงดูดความสนใจ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ให้ประชาชนมีความเข้าใจและอ่านฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายของสารเคมีทั้งด้านกายภาพ อันตรายต่อสุขภาพและอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และควบคุมให้ผู้จัดทำหรือผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยต้องจัดทำฉลากให้เป็นไปตามระบบสากล GHS

Article Details

บท
บทความพิเศษ

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2548). การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก. กรุงเทพฯ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

กลุ่มพัฒนาความปลอดภัยด้านสารเคมี และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2549). โครงการศึกษาสภาพปัญหาการใช้สารเคมีในแหล่งผลิต ผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: [เอกสารอัดสำเนา].

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม. (2558). คู่มือการจัดการสารเคมีอันตราย. สืบค้นจาก http://www.jorpor.com/

ศริศักดิ์ สุนทรไชย. (2554). การจำแนกประเภทความเป็นอันตรายและจัดทำฉลากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนตามระบบ GHS และการสำรวจความคิดเห็นและความเข้าใจต่อฉลากของผู้บริโภค.” Thai J Toxicology 2011, 26(1), 60-73.

ศริศักดิ์ สุนทรไชย. (2551). การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 1(3) (กุมภาพันธ์-เมษายน), 55-61.

ศริศักดิ์ สุนทรไชย. (2552). รายงานโครงการพัฒนามาตรฐานการจัดทำฉลากเคมีภัณฑ์ตามระบบสากล GHS ประจำปีงบประมาณ 2551 ส่วนที่ 2 : ฉลากผลิตภัณฑ์ซักผ้าแห้ง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด และผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ชนิดฉีดพ่นอัดก๊าซ.

ศริศักดิ์ สุนทรไชย. (2553). การจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก. ใน ประมวลสาระชุดวิชาระบบเครื่องมือและการจัดการความเสี่ยงสำหรับสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม หน่วยที่ 5. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://ipcs.fda.moph.go.thhttp:// ipcs. fda.moph.go.th

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. องค์ความรู้เรื่องระบบสากล GHS และความปลอดภัยด้านสารเคมีระดับอาชีวศึกษา.

เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง ระบบ GHS กับการพัฒนาการบริหารจัดการสารเคมีของไทยสู่สากล UNITAR-Thailand Workshop Training and Capacity building for the Implementation of the GHS ธันวาคม 2555

กรมโรงงานอุตสาหกรรม . เอกสาร GHS (“Purple Book”) สื บ ค้ น จ า ก http://www.npcse.co.th/pdf/ghs_thai_full.pdf

United Nations. (2013). Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals (GHS). 5th revised edition, New York and Geneva, 2013.