คัมภีร์ใบลานมอญในประเทศไทย

Main Article Content

พระอัครเดช ญาณเตโช (โลภะผล)

บทคัดย่อ

                 หนังสือใบลาน เป็นหนังสือที่บันทึกลายลักษณ์อักษรด้วยวิธีจารตัวหนังสือลงบนใบของต้นลานที่ตัดแต่งตามขนาดเดียวกัน แล้วเจาะรูร้อยหูด้วยสายสนองมัดรวมกันเป็นผูก นิยมเรียกว่า “คัมภีร์ใบลาน” ที่เรียกว่าคัมภีร์ใบลาน เพราะเนื้อเรื่องที่จดจารลงบนใบลานส่วนใหญ่เป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีพระไตรปิฎก เป็นต้น นอกจากนั้นยังใช้บันทึกเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวด้วยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเรื่องอันเป็นบทนิพนธ์ของอดีตชนก็มี ด้วยเหตุที่พระธรรมเป็นสิ่งสำคัญอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา เมื่อจดจารลงบนใบลานก็ทำให้คัมภีร์ใบลานมีความสำคัญ และจัดเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย ดังนั้น พุทธศาสนิกชนคนไทยจึงถือกันเป็นธรรมเนียมว่า คัมภีร์ใบลานเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเก็บรักษาอย่างดีในที่อันสมควร และทะนุถนอมเป็นพิเศษยิ่ง ดุจเดียวกับพระพุทธรูปนั้นเทียว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก่องแก้ว วีระประจักษ์. (2555). การอนุรักษ์เอกสารโบราณ, 24 เมษายน 2555 ณ วัดบางหลวง. ปทุมธานี. ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอสปาฟา).

พิศาล บุญผูก. (2555). เอกสารมอญในท้องถิ่นไทย:ความเป็นมาและคุณค่า, 24 เมษายน 2555 ณ วัดบางหลวง ปทุมธานี. ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอสปาฟา)

สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (2552). คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เอกสารโบราณ ประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.