อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของสุภาพสตรี ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อมรรัตน์ ทันมา
ขวัญฤทัย บุญยะเสนา

บทคัดย่อ

             การดำเนินธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าสุภาพสตรีผ่านในเครือข่ายสังคมออนไลน์กำลังได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ตลอดเวลา รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่ต่ำกว่าสื่อประเภทอื่นๆ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของสุภาพสตรีผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยทำการวิจัยในเชิงปริมาณและเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 445 คน และมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปออนไลน์โดยให้ความสำคัญกับภาพรวมของเครื่องมือการสื่อสารการตลาด (ซึ่งประกอบด้วยการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง) อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 43.82 จากการวัดขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติ Eta พบว่า ค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปไม่มีความสัมพันธ์กับเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดยกเว้นโฆษณา ซึ่งที่มีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปในระดับต่ำ (0.165) และจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้แก่ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต และจำนวนครั้งที่กลุ่มตัวอย่างเข้าชมสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างยังให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในเรื่อง การรับประกัน รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์และราคา ความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมทางการเงิน ระยะเวลาการจัดส่ง และช่องทางติดต่อกับผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่านเครื่อข่ายสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2555). สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง .กระทรวงมหาดไทย,กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. www.dopa.go.th.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2553). ตลาดในเครือข่ายสังคมออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555 www.bangkokbiznews.com

การสื่อสารการตลาด (ดารา ทีปะปาล). (2554). การสื่อสารการตลาด (ออนไลน์). สืบค้นมาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555. http://free4marketingad.blogspot.com/2011/08/blog-post_31.html

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2551). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

ธัญวรรณ เยาวสังข์. (2554). พฤติกรรมการใช้และปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้าผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท เฟซบุ๊ก ในด้านปัจจัยทางการตลาด ในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ปารมี ปุยพรหม. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภคในการตอบสนองต่อลักษณะข้อมูลของธุรกิจบริการในชุมชมออนไลน์. สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย , กรุงเทพฯ.

พรทิพย์ เกษมกมลกิจ. (2553). ตัวแปรที่มีผลต่อการใช้เฟซบุ๊กของผู้ใช้ไทย : การศึกษาเชิงบูรณาการ. สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ฟิลิป คอตเลอร์ ฟิลิป คอตเลอร์ (2546). Marketing Management การจัดการการตลาด, (ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ แปล), กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า

ฟิลิป คอตเลอร์. (2550). การตลาดฉับบคอตเลอร์, (เมธา ฤทธานนท์ แปล), กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

ยุวดี กรองกุหลาบ. (2553). รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รองศาสตราจารย์ ดารา ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2553). การสื่อสารการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

วุฒิ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค Consumer Behavior. จี.พี. ไซเบอร์พรินท์, กรุงเทพฯ.เว็บไซต์โซเชียลเบเกอร์. 2555. List of continents on facebook. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2555. www.socialbaker.com

ศิริพร พงศ์วิญญู. (2551). การจัดอันดับการเข้าชมเว็บไซต์และการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเข้าชม เว็บไซต์ในประเทศ. สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ.(2546). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด, กรุงเทพฯ : Diamond in Business World.

ศักดิ์สิทธิ์ วัชรารัตน์. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์เน้นสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 24. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เสรี วงษ์มนฑา. 2547. ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร : Diamond In Business World.

สุรางคนา ณ นคร. (2546). การสื่อสารตราสินค้าในแนวทางการตลาดสมัยใหม่, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลับธุรกิจบัณฑิตย์.

ผศ.สุรพงษ์ คงสัตย์ อ. ธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2555). สำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/theme_5-1-3.html.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2556). ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตปี 2556 นี้ โดยได้สำรวจจากทางเว็บไซต์และ Social Network. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550.

Don E. Schultz and Stanley I. Tannenbaum. (2544), ไอเอ็มซี การสื่อสารกาตลาดแนวใหม่, (ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ แปล), กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

Duncan,T. IMC: Using Advertising & Promotions to Build Brands. New York : MCGraw-Hill.2002, P. 150.

Hoyer, WD., & Macinnis,D.J. (2010). Consumer Behavior (5th ed.). Ohio: South–Western Cengage Learning.

K SME Analysis (2555). ธุรกิจร้านขายเสื้อผ้าผ่าน ช่องทางออนไลน์ Facebook/Website (Start – up Business) สืบค้นเมื่อวันที่20 สิงหาคม 2555.

Russell, J.T., and Lane, W.R. (2002).Kleppner’s Advertising Procedure.15th ed. UpperSaddle River, NJ:Prentice Hall.

Smith, P.R., & Taylor, J. (2004). Marketing Communications: An Integrated Approach (4th ed.). London: Kogan Page.

Semenik, R.J. Promotion and integrated Marketing Communications. Cininnati. Ohio: South-Western Thomson Learning, C2002, P. 563.

Schultz, D.E.,Tannenbaum S.I., and.Lauterborn, R.F.(1993) Intergrted Marketing Communications. Lincolnwood,III. : NTC Business Books., P.17

Schultz, DonE. Integrated Marketing Communication, Lincolnwood: NTC Business Books.1994.