คุณลักษณะบัณฑิตไทยที่พึงประสงค์ในบริบทอาเซียน

Main Article Content

จันทนา ทองประยูร

บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตไทยที่พึงประสงค์ในบริบทของอาเซียน และ 2. ให้ข้อเสนอแนะแก่สถานศึกษาในการผลิตบัณฑิตไทยที่พึงประสงค์ในบริบทอาเซียน วิธีการวิจัยใช้การสำรวจและการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ครูที่สอนในระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา รวมจำนวน 74 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่และการพรรณนาวิเคราะห์


                  ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่าคุณลักษณะบัณฑิตไทยที่พึงประสงค์ในบริบทอาเซียนดังนี้ 1) ลักษณะภายในทางความคิดคือเป็นผู้มีความรู้เท่าทัน รอบรู้ข่าวสารอาเซียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างประเทศไทยกับอาเซียนในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และกฎระเบียบ รู้ข้อดีและข้อด้อยของไทยในการเข้าสู่อาเซียน  รวมทั้งการมีคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนการมีทักษะในชีวิตและการทำงาน 2) ด้านบุคลิกภาพประกอบด้วยความรักชาติ อนุรักษ์ความเป็นไทย และความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ 3) ลักษณะภายนอกที่แสดงให้เห็น ประกอบด้วยการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนได้ การมีมนุษยสัมพันธ์ และการมีทักษะทางตัวเลขและไอที


                   ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยคือ สถาบันการศึกษาที่มีพันธกิจสำคัญในการจัดการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่สังคม รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาในระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ควรกำหนดนโยบายและการดำเนินการในภาคปฏิบัติ เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สามารถดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม มีความรู้ความเข้าใจ ความรู้เท่าทันความแตกต่างของสังคมอาเซียนในมิติต่างๆ และสามารถนำพาสังคมไทยให้ก้าวไปอย่างมั่นคงกับพันธมิตรอาเซียน ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของประเทศและของภูมิภาคโดยเฉพาะทางด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตามคำขวัญของอาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวทั้งในด้านวิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ และความเป็นชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชชล อัจนากิตติ (2555) http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348642687 (ค้นคืนเมื่อ 10 ตุลาคม 2557)

สุรินทร์ พิศสุวรรณ (2013).https://th-th.facebook.com/notes/somkiat-onwimon/ (ค้นคืนเมื่อ 11 ตุลาคม 2557)

สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2552). การศึกษา: รากฐานประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MzIyOTU= (ค้นคืนเมื่อ 10 ตุลาคม 2557)

จีระ หงส์ลดารมภ์ (2555). https://www.gotoknow.org/posts/481258 (ค้นคืนเมื่อ 11 ตุลาคม 2557)

จีระ หงส์ลดารมภ์ (2556). https://www.facebook.com/permalink.php?id=133230516687029&story_fbid=599113436765399 (ค้นคืนเมื่อ 11 ตุลาคม 2557)

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (2550) http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9500000032288 (ค้นคืนเมื่อ 11 ตุลาคม 2557)

กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป. http://www.asean.moe.go.th/ (ค้นคืนเมื่อ 10 ตุลาคม 2557)

จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2554). ปีที่ 2 ฉบับที่ 74 ประจำวันที่ 8 สิงหาคม 2554