ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

Main Article Content

นิยม จับใจสุข

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


               ประชากรคือ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้งที่สำนักงานใหญ่ สำนักงานในส่วนภูมิภาคจำนวน 28,067 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยสูตรยามาเน่ โดยเก็บตัวอย่าง 400 คน  ด้วยวิธีการสุ่มอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา     


              ผลการวิจัย พบว่า (1) คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในภาพรวมคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับดีทุกด้านเช่นกัน ได้แก่ ด้านสิ่งตอบแทนที่ยุติธรรม  ด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัย ด้านการพัฒนาความสามารถ ด้านการได้รับการยอมรับในสังคม ด้านประชาธิปไตยในการทำงานกับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านความสมดุลของงานกับชีวิตส่วนตัวและครอบครัว (2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในภาพรวมระดับแรงจูงใจมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณารายด้านก็อยู่ในระดับมากเช่นกันได้แก่ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านความรับผิดชอบต่องาน ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านความมั่นคงในงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2555) ข้อมูลสำคัญ กฟภ. แผนกประมวลข้อมูลข่าวสารและฐานวิชาการ กองวางแผนวิสาหกิจ (ฉบับ มิถุนายน 2555) 44-45

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประวัติความเป็นมา ค้นคว้าเมื่อ 2 มีนาคม 2554 จาก http://www.pea.co.th

กริชเพชร ชัยช่วย (2544) คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมเจ้าท่า. ปัญหาพิเศษรัฐ ประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

กฤษฎา วัฒนานันท์ (2551) บทคัดย่อภาคนิพนธ์ ศึกษาเรื่อง “ ปัจจัยจูงใจในการทำงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะคาจังหวัดลำปาง”ภาคนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

จันทรา แทนสุโพธิ์ (2546) ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของทีมสุขภาพ ศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุข.มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ธงชัย สันติวงษ์ และ ชัยยศ สันติวงษ์ (2533) พฤติกรรมบุคคลในองค์การ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช

ณัฎฐกฤตา อภิโชติภพนิพิฐ (2551) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับแรงจูงใจในการทำงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของ บริษัท ไทยตาบูชิ อิเล็คทริค จำกัด วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (2551)

รัฐเดช จันทรางศุ. พ.ท. 2547 คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองดุริยางค์ทหารบก. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณพิต สาขานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

วไรพร เจริญพร. คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานที่ทำงานเป็นกะในระดับปฏิบัติ : ศึกษากรณี บริษัท ไทยไวร์ แอนด์ เคเบิลเซอร์วิสเซล จำกัด.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป , บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

ดวงหทัย ปิ่นเย็น (2549) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรเทศบาลเมืองกาฬสินทรวิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

บุญช่วย ยิดชัง (2545) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรส่วนกลาง สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พิทยา บวรวัฒนา (2543) รัฐประศาศนศาสตร์ ทฤษฎีและแนวการศึกษา กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2543) วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มนัส บุญวงค์. 2537. แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนัง.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วนิดา เหลืองสัจจกุล (2552) “การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) กรณีศึกษา ส่วนบริการลูกค้าจังหวัดราชบุรี” สาระนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร

สุชาดา คำสุชาติ (2536) แรงจูงใจการรับรู้บทบาทและการปฏิบัติงานตามบทบาทการสอนสุขศึกษาของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไปในส่วนกลางสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สุจินดา อ่อนแก้ว (2538) “คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์ในสหวิทยาลัยทราวดี” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุทิน สายสงวน (2533) “การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ : ศึกษากรณีข้าราชการในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรที่ประจำสำนักงานเกษตรอำเภอ ในภาคใต้”. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมนุษยมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร โอฬารธรรมรัตน์ (2546) การเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน. ศึกษากรณี บริษัทอดิเทพ จำกัด.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

Schuler, R.S., Beutell, N.J. and Youngblood, S.A. (1989) Effective Personnel Management. (3rded.) St. Paul : West Publishing

McGregor, D. (1992) The Human Side of Enterprise. New York : McGraw-Hill Book Co., Ltd., 1960.Saal, F.E., and Knight, P.A. Industrial and Organizational Psychology. (2nd ed.) California :Wadsworth,

Richard E Walton (1974) Improving the Quality of Life Harvard Business Review 52(3):12-16 May-June