ความต้องการศูนย์การเรียนเพื่อการออกเสียงภาษาอังกฤษ ของครูสอนระดับปฐมวัย เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการศูนย์การเรียนเพื่อการออกเสียงภาษาอังกฤษของครูสอนระดับปฐมวัย เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสอนระดับปฐมวัย เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1จำนวน 222 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความต้องการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ครูสอนระดับปฐมวัยมีความต้องการศูนย์การเรียนเพื่อการออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการในแต่ละองค์ประกอบของศูนย์อยู่ในระดับมาก ดังนี้ (1) ปรัชญา คือ ฟังสนุก พูดสำเนียงถูกต้อง คล่องแคล่วในการออกเสียง นโยบายของศูนย์การเรียน คือ มุ่งพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยการฝึกปฏิบัติ วัตถุประสงค์ของศูนย์การเรียน คือ เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถการออกเสียงภาษาอังกฤษของครูปฐมวัยเพื่อใช้ในการเรียนการสอน (2) ประเภทของห้องเรียนในศูนย์ที่ต้องการ คือ ห้องทดสอบการฝึกทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ ห้องฝึกทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ ห้องคลินิกในการออกเสียงภาษาอังกฤษ ห้องสืบค้นความรู้การออกเสียงภาษาอังกฤษ ห้องทดลองสอนการออกเสียงภาษาอังกฤษ และห้องผลิตสื่อการออกเสียงภาษาอังกฤษ (3) ขอบข่ายเนื้อหาการออกเสียงที่ครูต้องการ คือ การออกเสียงพยัญชนะ และสระ สระเดี่ยว สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียง (Phonetic Symbol) ต้นคำ (Initial sound) กลางคำ (Medial sound) ท้ายคำ (Final sound) การเน้นพยางค์ (Stress) และระดับเสียง (Intonation) ขั้นตอนการเรียน เริ่มด้วย ลงทะเบียนเรียน ทดสอบก่อนเรียน เลือกห้องเรียน ศึกษาในศูนย์การเรียน ประกอบกิจกรรมในการเรียน และทดสอบหลังเรียน และการประเมินการเรียนที่ต้องการให้มีในศูนย์การเรียนเพื่อการออกเสียงภาษาอังกฤษ คือ ทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน (4) มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์การเรียน คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และ (5) ประโยชน์ที่ครูได้รับจากศูนย์การเรียน คือ นำความรู้การออกเสียงภาษาอังกฤษไปใช้ในการสอนได้
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553) สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ค้นคืนจาก http://www.englishobec.net/index.php
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2545) มิติที่ 3 ทางการศึกษาสานฝันสู่ความเป็นจริง กรุงเทพมหานคร เอส.อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดัสก์
จารุวรรณ สายสิงห์ (2546) การผสมผสานการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์และการสอนภาษาโดยรวมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเสียง ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นพรัตน์ ชูไสว (2533) โครงการจัดตั้งศูนย์สื่อทางการศึกษา สำหรับโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุวิทย์ เจริญพานิช (2534) รูปแบบศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำหรับวิทยาลัยพานิชการเชตุพน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร