การจัดการเรียนรู้โดยทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์ซัน ผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา ด้วยกิจกรรมเพลงรำวงพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติ และความมีวินัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่องเพลงรำวงพื้นบ้าน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์ซัน ผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา ด้วยกิจกรรมเพลงรำวงพื้นบ้าน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติการแสดงพื้นบ้าน เพลงรำวงพื้นบ้าน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์ซัน ผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา ด้วยกิจกรรมเพลงรำวงพื้นบ้าน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านวินัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติแบบ ซิมพ์ซัน ผสมผสานแนวระบบคิดคู่สัญญา ด้วยกิจกรรมเพลงรำวงพื้นบ้าน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มโรงเรียนศูนย์คุณภาพการศึกษา อำเภอหนองบัว 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3 จังหวัดนครสวรรค์ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ โรงเรียนชุมชนบ้านกระดานหน้าแกล และโรงเรียนชุมชนวัดห้วยร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3 จังหวัดนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์ซัน ผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา จำนวน 5 แผนการเรียนรู้ แบบรายงานพฤติกรรมวัดความมีวินัย แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชานาฏศิลป์ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และแบบบันทึกข้อตกลงสำหรับนักเรียนและคู่สัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่องเพลงรำวงพื้นบ้าน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์ซัน ผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา ด้วยกิจกรรมเพลงรำวงพื้นบ้าน กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ทักษะการปฏิบัติการแสดงพื้นบ้าน เพลงรำวงพื้นบ้าน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์ซัน ผสมผสานแนวคิดระบบคู่สัญญา ด้วยกิจกรรมเพลงรำวงพื้นบ้าน กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านวินัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์ซัน ผสมผสานแนวระบบคิดคู่สัญญา ด้วยกิจกรรมเพลงรำวงพื้นบ้าน กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมระบบคู่สัญญา ผลปรากฏว่า ผู้เรียนปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ได้ให้กับคู่สัญญาได้ มีการบ้านส่งครูผู้สอนตรงตามเวลาครบถ้วนเรียบร้อย มีมารยาทในห้องเรียน ผู้เรียนมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการทำงาน มีกระบวนการวางแผนการจดบันทึกการบ้าน ผู้เรียนมาโรงเรียนตรงตามเวลาสามารถทำกิจกรรมในตอนเช้ากับเพื่อนได้ครบ เมื่อถึงเวลาเข้าห้องเรียนผู้เรียนเข้าห้องตรงเวลาทำให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเวลาสอนของครูผู้สอนเพิ่มมากขึ้น ผู้เรียนได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เต็มที่ ผู้เรียนมีการแต่งกายที่สะอาดเรียบร้อยถูกต้องตามกฎระเบียบของโรงเรียนทำให้ไม่ถูกตัดคะแนนพฤติกรรม เป็นการสร้างค่านิยมและคุณธรรมที่ดีให้กับผู้เรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จุฑารัตน์ ดวงเทียน. (2558). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงค่านิยม 12 ประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต). สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี
ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง กรู๊ฟ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาส์น.
บุสรินทร์ พาระแพน. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนรู้การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านตามแนวคิดทักษะ ปฏิบัติของซิมพ์ซันที่ส่งเสริมบุคลิกภาพและความคิดสร้างสรรค์การปฏิบัติท่ารำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและการพัฒนาเครื่องมือการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.
พระอำนาจ อตฺถกาโม. (2554). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เรื่องสุขภาวะโดยประยุกต์ใช้ระบบคู่สัญญากับแนวคิด PDCA และ Education 3.0. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(3), 174-193.
โรงเรียนชุมชนบ้านกระดานหน้าแกล. (2561). รายงานการประเมินตนเอง. นครสวรรค์: โรงเรียนชุมชนบ้านกระดานหน้าแกล
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.