พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชนและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชนของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย (2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเปิดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชน และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชนของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย มีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์มากที่สุด เพราะมีทั้งภาพและเสียงจึงมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยสื่อโทรทัศน์มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะมีทั้งภาพและเสียง รองลงมาคือวิทยุ และหนังสือพิมพ์ ทำให้เห็นว่าสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีผลต่อประชาชนมากที่สุด 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นประจำและชักชวนผู้อื่นให้ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งเป็นประจำ ทำให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนยังอยู่ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเท่านั้น 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเปิดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชน คือ การไม่มีเวลาและมีความสนใจในเรื่องของการเมืองน้อย อยากให้สื่อมวลชนเสนอข่าวแบบเป็นกลางและการนำเสนอข่าวสารให้รอบด้าน สื่อมวลชนมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าวสาร
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
ฐิตกานต์ ธนาโอฬาร (2536) การสื่อสารกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัย : ศึกษาเฉพาะกรณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปาริชาติ สถาปิ ตานนท์ และคณะ (2549) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฎิบัติการวิจัยในสังคมไทย กรุงเทพมหานคร ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วิศาล ปัญจสกุลวงศ์ (2548) พฤติกรรมการเปิ ดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชน และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ปริญญา นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สิงห์ สิงห์ขจร (2549) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 5 อันดับแรก ปี 2548 วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สิงห์ สิงห์ขจร (2552) พฤติกรรมการเปิ ดรับข่าวสารการเมืองจากสื่อมวลชนและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีกรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เสถียร เชยประทับ (2540) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารการเมืองในสหรัฐอเมริกา กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสถียร เชยประทับ (2551) การสื่อสารกับการเมืองและประชาธิปไตยในสังคมพัฒนาแล้ว กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
McQuail, Denis. (1987) Mass Communication Theory : An Introduction. Beverly : Hills, CA: Sage Publications
Huntington,Samuel P. and Dominguez,George I (1975) Political Participation in Macropolitical Theory Handbook of Political Science Vol.3. p.33