การพัฒนาชุดสื่อวิดีทัศน์การสอนเพื่อเสริมสร้างความรู้และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สหะ พุกศิริวงศ์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดสื่อวิดีทัศน์การสอนเพื่อเสริมสร้างความรู้และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการใช้ชุดสื่อวิดีทัศน์การสอนเพื่อเสริมสร้างความรู้และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาชุดสื่อวิดีทัศน์การสอนเพื่อเสริมสร้างความรู้และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) เพื่อประเมินผลความรู้และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จากการคิดร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร (co-creation campaign) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูล สำหรับการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่กิจการนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มที่ 2 ผู้ผลิตสื่อ โดยใช้หลักการสื่อการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และ การคิดร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น การสนทนากลุ่ม ชุดสื่อวิดีทัศน์การสอน แบบประเมินสื่อ และแบบทดสอบความรู้และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า
ผลการวิจัยสรุปว่า 1) สภาพปัญหาและความต้องการใช้ชุดสื่อวิดีทัศน์การสอนเพื่อเสริมสร้างความรู้และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีความคิดเห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งใหม่ในสังคมไทย รูปแบบผลิตภัณฑ์กระตุ้นความอยากลอง การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีแต่การนำเสนอในด้านดี เช่น บุหรี่ไฟฟ้ามีความอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน ทำให้ช่วยเลิกบุหรี่ได้ แต่แท้จริงแล้วยังไม่ทราบถึงผลเสียของบุหรี่ที่ยังแฝงอยู่ ความต้องการใช้ชุดสื่อวิดีทัศน์การสอน คือเนื้อหาที่นำเสนอต้องเน้นอันตรายจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า การใช้สื่อวิดีทัศน์เป็นสื่อรณรงค์ที่ดี สื่อสารเนื้อหาได้ชัดเจน จูงใจให้จดจำได้ ให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 2) ผลการประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพชุดสื่อวิดีทัศน์การสอนในด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง แบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ด้านภาพและเสียงที่ใช้นำเสนอ อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ด้านเวลานำเสนอคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนผลการประเมินคุณภาพครั้งที่ 2 ด้านภาพและเสียงที่ใช้นำเสนอ และด้านเวลานำเสนออยู่ในเกณฑ์ดี แสดงให้เห็นว่าชุดสื่อวิดีทัศน์การสอนมีการพัฒนาขึ้นอยู่ในเกณฑ์ดีและ 3) ผลประเมินความรู้และความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.4 คะแนนเฉลี่ยหลังผ่านกระบวนการคิดร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารในกระบวนการผลิตชุดสื่อวิดีทัศน์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติคุณ เยาวรัตน์. (2560). กลยุทธ์การสร้างคลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแรงจูงใจในการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง กรณีศึกษา เฟซบุ๊คแฟนเพจ Runner’s Journeys (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

คมชัดลึก. (2560). บุหรี่ไฟฟ้า กระตุ้นพฤติกรรมสูบบุหรี่มวนเพิ่ม 4 เท่า. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2559, จาก http://www. komchadluek.net/news/edu-health/285419.

ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์. (2559). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 6(2), 99-109.

ดนยา สุเวทเวทิน. (2559). เยาวชน Gen Z ร่วมใจไม่สูบบุหรี่. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2559, จาก https://www. thaihealth.or.th/Content/33213.

นัทมน ตั้งตรงมิตร. (2562). CO-CREATION ร่วมด้วยช่วยดีไซน์. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2563, จาก https://www. baanlaesuan.com/87191/design/design-update/co-creation

ปริวรรต สมนึก. (2558). พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 11(1), 4-17

วรรณา สนองเดช, สุพิชญา หวังปิติพาณิชย์, ปิยรัตน์ ชลสินธุ์ และทิวาภรณ์ เฉลิมพิชัย. (2561). การพัฒนาสื่อและผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับโจทย์สถานการณ์ต่อความรู้และความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลอาชีวอนามัยของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 24(1), 94-107.

วอยซ์ทีวี. (2561). กรมควบคุมโรคย้ำบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ตัวช่วยเลิกบุหรี่. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562, จาก https://voicetv. co.th/read/rylztOIdz

อภิดา รุณวาทย์. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(2), 7.

McQuall. D. (1994). Mass Communication Theory: An Introduction (3rd ed.). London: Sage.

Thongthab, S. (2019). Young smokers increase 10.7 million, Ministry of Public Health and collaboration network pressure to create a safe Anti-Cigarette area.Retrieved July 12, 2019, from https://www. thebangkokinsight.com/164076/