การจัดการป่าชุมชนบ้านท่าระพา ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรบ้านท่าระพา ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (2) การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการป่าชุมชนของราษฎร (3) ประเมินความสำเร็จในการจัดการป่าชุมชน (4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะด้านการจัดการป่าชุมชน และ (5) กำหนดแนวทางการจัดการป่าชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ส่วนคือ (1) ข้อมูลเชิงปริมาณ รวบรวมจากประชากรทั้งหมด คือ ราษฎรบ้านท่าระพา จำนวนทั้งสิ้น 176 ครัวเรือนโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย มาตราส่วนประมาณค่านำมาใช้ในการประเมินความสำเร็จในการจัดการป่าชุมชน และ (2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ รวบรวมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการป่าชุมชน จำนวน 9 คน โดยการสัมมนากลุ่มและวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดยใช้การประเมินโครงการแบบซิปป์
ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชากร ส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 38.07 การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 51.13 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 39.77 (2) ก่อนการจัดตั้งป่าชุมชนราษฎรมีส่วนร่วมและมีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ย 1.03 หลังจากจัดตั้งป่าชุมชนราษฎรมีส่วนร่วมและมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางและมาก ค่าเฉลี่ย 3.03 และ 3.35 ตามลำดับ (3) ความสำเร็จของการจัดการป่าชุมชนตามวัตถุประสงค์อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่ามีจุดแข็ง ได้แก่ ชุมชนเชื่อมั่นการบริหารจัดการของคณะกรรมการป่าชุมชน มีการจัดหาทุนการดำเนินการจากการจัดกิจกรรมทอดผ้าป่า และมีการประชาสัมพันธ์ติดต่อสื่อสารโดยใช้สื่อวิทยุชุมชนและเสียงตามสาย เป็นต้น ส่วนจุดอ่อน ได้แก่ ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้และกระบวนการจัดการป่าชุมชน ขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังเยาวชนหรือคนรุ่นใหม่ในท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนมีข้อจำกัดบางประการ เป็นต้น (4) ปัญหาและอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่คือ งบประมาณและทุนดำเนินการ และน้ำท่วม ส่วนข้อเสนอแนะคือต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายป่าชุมชนอื่นๆ หรือเครือข่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังเยาวชนหรือคนรุ่นใหม่ในท้องถิ่น และ (5) แนวทางการจัดการป่าชุมชนให้มีประสิทธิภาพที่สำคัญ คือ ต้องทบทวนกฎระเบียบให้เหมาะสม มีการบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม และแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ชัดเจน
Downloads
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กมลรัตน์ ศรีพลกรัง, ปัทมาภรณ์ เดชยาภิรมย์, กาญจนา รูปะวิเชตร์, วิภาวรรณ สินไชย, ชานิล กุรินทร์, ศิโรรัตน์ บินสะนิ, ... วรพล คหัฏฐา.(2560). รายงานการศึกษาโครงการป่าชุมชนบ้านนาข่า ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.โครงการอบรมหลักสูตร “นักบริหารระดับกลาง กระทรวงการคลัง รุ่นที่ 4/2560”. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.
กรกฎ ทองขะโชค และธีรพร ศรประสิทธิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการป่าชุมชน ตำบลปลักหนู อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา (รายงานผลการวิจัย).สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
กรมป่าไม้ สำนักจัดการป่าชุมชน. (2558). คู่มือการปฏิบัติงานตามแนวทางการจัดทำโครงการป่าชุมชนของกรมป่าไม้. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2557). แผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ทัศนีย์ พูนผล, อัญชลี พวงรัตน์, กฤษกร คนซื่อ, บุปผา ศิริสวัสดิ์, ศรีนวล ศรีท่าด่าน, อุษา ดำแสงสวัสดิ, ... สุรินทร์ ดลปัญญาเลิศ. (2559). รายงานการศึกษาโครงการป่าชุมชน บ้านหนองบัวคำ หมู่ที่ 7 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย.โครงการอบรมหลักสูตร “นักบริหารระดับกลาง กระทรวงการคลัง รุ่นที่ 4/2559”. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.
นรชาติ วงศ์วันดี. (2554). ความสำเร็จของการจัดการป่าชุมชนบ้านดงผาปูน ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
พิมจันทร์ แสงจันทร์, ศาศวัต เพ่งแเพ และวิมล มิระสิงห์. (2557). รูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง จังหวัดชัยนาท. จันทรเกษมสาร, 20(39), 19-28.
ศิโรชินี อนันอริยธรรม, สรัญญา โพทอง, วชิร รักขิตตธรรม, ประภาพรรณ กัณทวงษ์, ประวิทย์ ปรีชานุกูลพานิช, มนตรี ทองมา, ...วิชสิทธิ์ เจริญศักดิ์. (2560). รายงานการศึกษาโครงการป่าชุมชนบ้านห้วยหินขาว บ้านห้วยหินขาว หมู่ที่ 6 ตำบลด่านศรีสุข อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย โครงการอบรม “หลักสูตรนักบริหารระดับกลาง กระทรวงการคลัง รุ่นที่ 1/2560”. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.
สุชาวลี ชูเอน. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. วารสารวิทยบริการ, 23(3), 44-53.
สุภมาส อังศุโชติ. (2555). แนวคิดเกี่ยวกับการประเมิน นโยบาย แผนงานและโครงการ. ในประมวลสาระชุดวิชาการประเมินนโยบายแผนงานและโครงการ หน่วยที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรินทร์ อ้นพรม. (2554). ป่าชุมชน: เทคโนโลยีอำนาจควบคุมชุมชนในเขตป่าชิ้นใหม่ กรณีศึกษาป่าชุมชนห้วยแก้ว ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 30(2), 157–177.