การปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงแรมเครือข่ายระดับนานาชาติ ในเขตกรุงเทพมหานคร หลังจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

Main Article Content

ระชานนท์ ทวีผล
ภฤศญา ปิยนุสรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระบบสุขภาพที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการกลับมาใช้บริการซ้ำในโรงแรมเครือข่ายนานาชาติ  และ (2) ศึกษาผลกระทบและการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงแรมเครือข่ายระดับนานาชาติ ในเขตกรุงเทพมหานคร หลังจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและการพัฒนาด้วยเทคนิคการวิจัยแบบผสมสาน โดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มผู้รับบริการชาวไทย จำนวน 400 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ จากนั้นเข้าสู่การสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้บริหารระดับกลางจากโรงแรมเครือข่ายทั้ง 9 กลุ่มในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 คน ร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยใช้วิธีวิทยาการสร้างทฤษฎีฐานราก ผลการศึกษาพบว่า (1) ระบบสุขภาพ ด้านนโยบายและธรรมาภิบาล ด้านสารสนเทศ และด้านการให้บริการ ส่งผลต่อความตั้งใจในการกลับมาใช้บริการซ้ำในโรงแรมเครือข่ายระดับนานาชาติ (2) จากวิกฤตของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดขึ้นการยกเลิกการจองเป็นจำนวนมาก ผลกระทบทำให้รายได้ของโรงแรมลดลง ผู้ให้บริการจำนวนมากถูกพักการปฏิบัติงาน และการปิดกิจการเป็นการชั่วคราว สำหรับการปรับเปลี่ยนแนวทางทิศทางของโรงแรมได้นำมาตรการของรัฐบาลและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นเงื่อนไขการให้บริการที่ความปลอดภัยในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายและการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมของผู้รับบริการภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการปรับโครงสร้างของรายได้ในช่วงการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพรรณ อรรัตนสกุล, รุจีรัตน์ โชติช่วงสถาพร และสุธาสินี เลิศวัชระสารกุล. (2563). คู่มือเอาตัวรอดจากไวรัสฉบับกะทัดรัด. กรุงเทพฯ: อะเดย์.

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น.

กองบรรณาธิการวอยซ์ออนไลน์. (2563). โควิด-19 อาจทำให้คนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตกงานถึง 50 ล้านตำแหน่ง. สืบค้นเมื่อ 19 มีมาคม 2563, จาก https://www.voicetv.co.th/read/S4kxpS-DQ?fbclid=IwAR28VTA9ZyyaMNY6m-Uum1LEsubprW01D1Hb-diUvMz-n-LuElKC4So51h0.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). แผนการดำเนินโครงการ แนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายพัฒาสินค้าการท่องเที่ยว ด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ฉัตรชัย อุคชธรรม. (2558). การดำเนินงานด้านสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรสาธารณสุขบัณฑิต). สาขาวิชาการบริการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ชุติมา วุฒิศิลป์ และประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. Veridian E-Journal Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2066-2079.

ไซมอน เอครอยด์. (2563). ประเทศไทยสู่ปี 2030 จับกระแสอนาคตอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: อมาเดอุส เอเชีย จํากัด.

ณภัทร ทิพย์ศรี และวสุธิดา นุริตมนต์. (2562). อิทธิพลของคุณภาพบริการและการบริหารความสัมพันธ์ที่ส่งผลส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำ: การศึกษาเชิงประจักษ์ลูกค้าที่ใช้บริการโรงแรมในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(105), 175-186.

ทวี รักสกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติของราชการ ส่วนภูมิภาคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 2(5), 1-13.

ทักษิณา แสนเย็น, วรวุฒิ เว้นบาป, วีรพันธ์ ช่วยประสิทธิ์, กุลธวัช ศรายุทธ และอาภาภรณ์ หาโส๊ะ. (2563). บทวิเคราะห์การรับมือโรคโควิด-19: ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 210-220.

ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2563). โรงแรมขอรัฐสั่งปิดช่วยลูกจ้างได้เงิน. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1806109?fbclid=IwAR1PhFlDS1K XgCj4Mt5iWuC2jeuFmPlfsj4N v2v9_N6TFhjEkD2UjQCF-Ts.

ธงชัย ชลศิริพงษ์. (2563). ไม่รอด! Marriott เตรียมสั่งพักงานลูกจ้างหลายหมื่นราย ไม่จ่ายเงินให้ แต่ยังได้สิทธิ์รักษาพยาบาล. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2563, จาก https://brandinside.asia/marriott-furlough-tens-of-thousands-of-employees/?fbclid=IwAR0FZbovACNvmu4fbvVa6tFoVqcZ1dF-WOLG7mWfZ-iXX9jhzKbzM3yuWBg.

นุรไลลา ตือระ และอานีซะห์ ลาเต๊ะ. (2559). การสรรหาและเลือกสรรบุคลากรเข้าทํางานบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้ง (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรบัณฑิต). สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาวิทยาลัยสงขลานรินทร์. สงขลา.

บุษรินทร์ ดิษฐมา และนาถรพี ชัยมงคล. (2562). ปัจจัยทางการสื่อสารการตลาดและรูปแบบการดำเนินชีวิต ที่มีผลต่อการกลับมาเลือกใช้บริการจองที่พักผ่านแอพพลิเคชั่นซ้ำของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังจังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 14(1), 153-170.

บิล เกตส์. (2563). Bill Gates เตือน 4 ธุรกิจ: โรงแรม, ร้านอาหาร, ท่องเที่ยว, จัดอีเวนต์ ‘เจ๊งยาว’ หลัง โควิด-19 พร้อมชี้วิธีแก้ไขด่วน. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2563, จาก https://www.ceochannels.com/bill-gates-warned-3-businesses-that-will-change-forever-after-covid-19/?fbclid=IwAR0F3ghYdz2tV5Jm3aazp44GPuHK562L83a1QKjfzS6UW7KXCUq9Pv3aqs.

บิลล์ ไฮเนคกี. (2563). สรุปแนวคิด Bill Heinecke ชายผู้เป็นเจ้าของโรงแรมของ 530 แห่งท่ามกลางวิกฤตโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563, จาก https://www.billionmindset.com/bill-heinecke-how-hotel-would-change-after-covid19/?fbclid=IwR3PGDACzyPsOEdswrG4gCb7GRNMceDmiras0wT9GvZFzaTmcu-jH8XjeyQ.

ปัทมา สิทธิโชค. (2559). การจัดการโรงแรมสไตล์บูติคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมาใช้บริการที่สุรินทรา บูติค รีสอร์ท ของผู้บริโภคชาวต่างชาติ (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

มณฑิรา เกียรติถาวรนันท์. (2558). การจัดการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายใต้วิกฤตการณ์ทาง การเมืองและความไม่สงบในจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาวิทยาลัยสงขลานรินทร์. สงขลา.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2563). นัยของนิวนอร์มอลต่อธุรกิจท่องเที่ยวไทย. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2563, จาก https://www. bangkokbiznews.com/blog/detail/650145?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_ campaign=columnist&fbclid=IwAR1efZIR8brEh188jcijt_8cinqVHrbF7sGZ7e88xLbZ65Mx7jSp-N7ZLa4.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2563). ททท.ชี้อีก 5 เดือนฟื้นแน่ “จีน” เริ่มส่งสัญญาณบวก. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563, จาก https:// www.prachachat.net/tourism/news-455435.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยผสมผสาน (Mixed Methods Research). วารสารมหาวิทยาลัยมหานครพนม, 7(2), 124-132.

ศิริพงศ์ รักใหม่, เยาวภรณ์ เลิศกุลทานนท์, กาญจนา แฮนนอน และกชกร มนตรีสุขศิริกุล. (2560). การจัดการภาวะวิกฤตในธุรกิจโรงแรม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 345-354.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

Harri, H., & He, L. (2020). The Impact of Covid-19 Pandemic on Corporate Social Responsibility and Marketing Philosophy. Journal of Business Research, 116, 176-182.

Jiang, Y., & Wen, J. (2020). Effects of COVID-19 on Hotel Marketing and Management: A Perspective. International Journal of Contemporary of Hospitality Management, 32(8), 2563-2573.

Khan, N. S. (2014). Qualitative Research Method: Grounded Theory. International Journal of Business and Management, 9(11), 224-233.

Thu, P., T., Hong N., P., Hai, M., N., & Tuan, A., L. (2020). Effect of the Social Distancing Measures on the Spread of COVID-19 in 10 Highly Infected Countries. Science of The Total Environment, 742, 1-8.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory Statistic (2nd ed.). New York: Harper & Row.