การสร้างกลยุทธ์ต้นแบบแบรนด์พื้นที่ท่องเที่ยวรองในเมืองหลักและแนวปฏิบัติด้านการสื่อสารแบรนด์ในยุคดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว กรณีตัวอย่าง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สุรางคนา ณ นคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์ต้นแบบแบรนด์อำเภอภูผาม่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวรอง ในเมืองหลักคือ จังหวัดขอนแก่น และนำเสนอแนวปฏิบัติด้านการสื่อสารแบรนด์ในยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติแบบลงมือทำ ผสมผสานการวิจัยคุณภาพ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผล มีคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอำเภอภูผาม่าน เป็นผู้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและกระบวนการสะท้อนกลับ ปรากฏผลการวิจัยดังนี้
1. กลยุทธ์ต้นแบบแบรนด์ภูผาม่าน ประกอบด้วย 1) ขอบข่ายบริบทความเป็นภูผาม่าน คือ “พื้นที่ท่องเที่ยววิถีธรรม ชาติ” 2) ความมุ่งมั่นตั้งใจของแบรนด์ “เป็นแรงบันดาลใจให้ชุมชน รักในถิ่นฐานบ้านเกิด ตระหนัก หวงแหน เห็นคุณค่าและความสำคัญของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ของภูผาม่าน” 3) จุดยืนของแบรนด์ คือ “ที่ ที่ต้องตั้งใจมา” 4) คุณสมบัติของแบรนด์ คือ ความงดงาม มหัศจรรย์และยิ่งใหญ่ของธรรมชาติเปรียบดั่งสวรรค์ “ตั้งใจสร้าง” ชุมชนมีเรื่องเล่า “ที่ตั้งใจเล่า” ใครเล่าก็ไม่เหมือนชุมชนเล่า และชุมชนเปิดใจรับผู้ตั้งใจมาเยือน “อย่างสุดความตั้งใจ” 5) คุณค่าคำสัญญาของแบรนด์ คือ “ที่สุดของความตั้งใจ: สืบสาน ส่งต่อคุณค่า เคารพรักษ์ธรรมชาติ เพื่อชุมชนดำรงอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน” และ 6) เอกลักษณ์ของแบรนด์ ใช้ชื่ออำเภอและเทือกเขาภูผาม่านเป็นชื่อแบรนด์ ออกแบบโลโก้แบบมินิมอล เรียบง่าย รายละเอียดน้อย แต่ดูยิ่งใหญ่ พื้นหลังใช้สีเอิร์ธโทนน้ำตาลส้ม เป็นเฉดสีที่พบเห็นได้จากธรรมชาติให้ความรู้สึกสบายตา อักษรตัวหนาสื่อถึงชุมชนเข้มแข็ง นำภาพเทือกเขาภูผาม่าน และฝูงค้างคาวบินเป็นองค์ประกอบหลัก สื่อถึงความสมบูรณ์และวิถีธรรมชาติ อันเป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวในจังหวัดขอนแก่นและล้อมกรอบสีขาว
2. แนวปฏิบัติด้านการสื่อสารแบรนด์ มี 2 บริบท ได้แก่ 2.1 การสื่อสารภายใน มี 3 แนวทางคือ 1) ให้ความสำคัญกับการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อแบรนด์ภูผาม่านแก่คนในพื้นที่ โดยผู้นำชุมชนควรมีบทบาทสำคัญในการสื่อ สาร 2) การสื่อสารเพื่อส่งเสริมสนับสนุนคนท้องถิ่นให้เป็นตัวแทนของแบรนด์ และ 3) การสื่อสารผ่านกระบวนการทางธุรกิจของแบรนด์ โดยสร้าง “พื้นที่ร่วม” ภายใต้การบริหารจัดการประโยชน์ร่วมเชิงธุรกิจและประโยชน์สุขร่วมกัน และ 2.2 การสื่อสารภายนอก มี 2 แนวทาง คือ 1) หากลุ่มเป้าหมายตัวจริง และ 2) ใช้ “เรื่องเล่า” มา “เล่าเรื่อง” ผ่านพื้นที่สื่อสมัยใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). เรื่องสื่อสาร-การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2561). ปลุกกระแสเที่ยว เมืองไทย สวยทุกที่ เท่ทุกเวลา ดันรายได้ไทยเที่ยวไทยแตะล้านล้านบาท ตามเป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561, จาก http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/40292

จุฑามาศ วิศาลสิงห์. (2555). โครงการศึกษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยในสายตาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (รายงานขั้นสุดท้าย). สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-download.

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง (2560). Marketing Fast Forward พลิกการตลาดในโลกยุคดิจทัล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดับเบิลยู พับลิคเคชั่น.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2556). การสร้างแบรนด์จากภายในอีกหนึ่งความท้าทายของการบริหารทรัพยากรบุคคล. Journal of HR intelligence, 8(2), 86-94.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2557). “USER-GENERATED CONTENT” : ยุคสื่อของผู้ใช้. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://positioningmag.com/58244.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2561). ททท. กางแผนยุทธศาสตรปี”62 ตั้งเป้ารายได้ภาคท่องเที่ยว 3.41 ล้านล้าน. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.prachachat.net/tourism/news-185736.

ประโยชน์ ส่งกลิ่น. (2558). การจัดการการท่องเที่ยวท้องถิ่น: กรณีศึกษาการจัดการท่องเที่ยว บ้านซะซอม อ. โขงเจียม

จ.อุบลราชธานี. วารสารการเมืองการปกครอง, 5(1), 105-117.

ปารณีย์ ศรีสวัสดิ์, ณัฐกานต์ แน่พิมาย, เสาวภาคย์ สว่างจันทร์ และพงศ์เทพ แก้วเสถียร. (2562). การพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(1), 150-166.

รัชฎาภรณ์ ทองแป้น. (2562). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ จังหวัดลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ปริทัศน์, 7(2), 46-57.

วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (2558). เล่าเรื่องให้เป็น = การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. อพท. Travel, 1(1), 14-15

วรสุวิชช์ โพธิสัตย์. (2561). บริบทและแนวทางการดำเนินการธุรกิจท่องเที่ยวดิจิทัล. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(26), 255-269.

วรุณรัตน์ คัทมาตย์. (2562). ส่องวงการ ‘ท่องเที่ยวไทย’ 10 ปีผ่านไป มีอะไรเปลี่ยนบ้าง. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/859178.

วีรพงษ์ พวงเล็กและคณะ. (2018). วิธีการสร้างแบรนด์และผลของการสร้างแบรนด์ภายในองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Behavioral Science for Development (JBSD), 10(1), 105-125.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2562). ท่องเที่ยวชุมชนสู่ 4.0: ควรเน้นนโยบายอะไร. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https:// www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646794.

ศิริกุล เลากัยกุล. (2551). สร้างแบรนด์อย่างพอเพียง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.

ศิริกุล เลากัยกุล. (2561). สร้างแบรนด์อย่างพอแล้วดี. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2561, จาก https://porlaewdeethecreator.com/ebook/?fbclid=IwAR18K7SQcJZ2h6Ikdzxj1ed9ymKNg73uCfng3KLotD1nMZ92BjzkQj89Gwk#p=70

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). (2561). สกว. หนุนท่องเที่ยวชุมชน – เมืองรองสู่ความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561, จาก https://www.trf.or.th/tourism-and-culture-news/.

สำนักสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2559). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2562, จาก https://ref.codi.or.th/attachments/article/14957/book-MANUAL-plan180859.pdf.

อำเภอภูผาม่าน. (2562). เอกสารบรรยายสรุปการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอำเภอภูผาม่าน. ขอนแก่น.

Barisic, P. and others. (2012). The Image and Identity of Croatia as A Tourist Destination: An Exploratory Study. Enterprise Odyssey. In International Conference Proceedings. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จาก https://www.researchgate.net/publication/339178888_THE_IMAGE_AND_IDENTITY_OF_CROATIA_AS_A_TOURIST_DESTINATION_AN_

EXPLORATORY_STUDYlink/5e42d45e458515072d91d9f9/download.

Bottomline. (2019). เจาะเทรนด์เที่ยวไทย 2019 เทรนด์ไหนเท่โดนใจขาเที่ยว 4.0 ออกแบบวิธีเที่ยวเองได้ “เมืองไทย สวยทุกที่ เท่ทุกสไตล์”. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563, จาก https://bottomlineis.co/Lifestyle_Travel_Trend_2020_TAT_Thailand_UniqueTravellers.

TAT REVIEW. (2561). Amazing Thailand Go Local. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2561, จาก www.tatreviewmagazine. com/article/.

TCDC CONNECT. (2018). ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์ ชี้ช่องการสร้างแบรนด์ให้รอดและยั่งยืนในยุค 4.0. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563, จาก https://web.tcdc.or.th/en/Articles.

MICE Intelligence Team. (2020). เรื่องราวจาก “นักเล่าเรื่อง” สู่จุดหมายปลายทางที่เรื่องราวจะพาเราไป. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://intelligence.businesseventsthailand.com/en/blog/story-telling.