การพัฒนารูปแบบสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียบนเทคโนโลยีโมบาย โดยใช้เทคนิคสเปซรีพีททิชัน

Main Article Content

ชายแดน มิ่งเมือง
วรปภา อารีราษฎร์
จรัญ แสนราช

บทคัดย่อ

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ต้องการเพิ่มโอกาสในการศึกษาให้แก่ประชากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบกับพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มีสูงมาก และคุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือที่สามารถนำเสนอสื่อมัลติมีเดียได้ดี การวิจัยในครั้งนี้จึงทำการพัฒนารูปแบบสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ที่อยู่ในรูปแบบมัลติมีเดียบนโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคนิคสเปซรีพีททิชันเพื่อช่วยในการเพิ่มความสามารถในการจดจำความรู้ให้รวดเร็วและคงทนมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียบนเทคโนโลยีโมบายโดยใช้เทคนิคสเปซรีพีททิชัน 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น


รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยที่ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์รูปแบบสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียบนเทคโนโลยีโมบายโดยใช้เทคนิคสเปซรีพีททิชัน เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ ประเมินความต้องการและพิสูจน์แนวคิดของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์หรือทางการศึกษา ที่มีประสบการณ์การสอนหรือใช้งานระบบอีเลิร์นนิงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำนวน 31 คน เครื่องมือวิจัยคือ 1) กรอบแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนโมบายเลิร์นนิงด้วยเทคนิคสเปซรีพีททิชัน และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อกรอบแนวคิด ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์รูปแบบสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียบนเทคโนโลยีโมบายโดยใช้เทคนิคสเปซรีพีททิชัน โดยทำการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบของรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน แบ่งเป็นกลุ่ม 3 ด้านได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, ด้านการศึกษา และด้านมัลติมีเดีย เครื่องมือวิจัยคือ 1) รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียบนเทคโนโลยีโมบายโดยใช้เทคนิคสเปซรีพีททิชัน และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของการสังเคราะห์รูปแบบที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียบนเทคโนโลยีโมบายโดยใช้เทคนิคสเปซรีพีททิชันที่พัฒนาขึ้นประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านนโยบายหลักการและบริบท 2) ด้านหลักการแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ด้าน โมบายเลิร์นนิงแอปพลิเคชัน และ 5) ด้านตัวบ่งชี้กิจกรรมการเรียนรู้ โดยที่ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.77 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 เมื่อพิจารณารายด้านก็พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

ชายแดน มิ่งเมือง, วรปภา อารีราษฎร์ และ ธรัช อารีราษฎร์. (2560). ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้โมบายเลิร์นนิงด้วยเทคนิคสเปซรีพิททิชัน. วารสารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 167-176.

เชิงชาย สมประชา และณัฐพัชญ์ พยุงศักดิ์สกุล (2555). ศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในเวลาเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

เดชพล ใจปันทา, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2559). การส่งเสริมครูประยุกต์ใช้สื่อผสมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(1), 59-72.

ธนกฤต โพธิ์ขี. (2555) ผลการใช้เกมส์มัลติมีเดียเพื่อพัฒนาการจำและความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดชินวราวรรณ (เจริญผลวิทยาเวศม์) (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ.

พรชัย ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์, วีระยุทธ โถวประเสริฐ และคิริภัทร เกียรติพันธุ์สดใส. (2557) ทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษาแพทย์ต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนชั้นคลินิก. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 14(3), 367-377.

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์

มยุรี เกื้อสกุล. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติระหว่างวิธีสอนแบบเอสทีเอดี (STAD) กับแบบเอ็มไอเอพี (MIAP) รายวิชาการบัญชีการเงิน หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 31-46.

วิทยา อารีราษฎร์. (2549). การพัฒนารูปแบบการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะและมีส่วนร่วมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ

วิลาส วูวงศ์ และบุญเจริญ ศิริเราวกุล. (2535). ระบบผู้เชี่ยวชาญ. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ปี 2563 Thailand Internet User Profile 2020 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ.

อภิเชษฐ์ ขาวเผือก. (2559). การพัฒนาเกมการศึกษาบนแท็บเล็ตโดยใช้เทคนิคช่วยจำเพื่อส่งเสริมความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสะแกงาม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1416-1431.

Bassil, Y. (2012). Expert PC Troubleshooter with Fuzzy-Logic and Self-Learning Support. International Journal of Artificial Intelligence & Applications (IJAIA), 3(2), 11-21. doi: 10.5121/ijaia.2012.3202.

Begley, K., Monaghan, M. S., & Qi, Y. (2013). Repeated Testing to Improve Skills in a Pharmacy Practice Laboratory Course. American Journal of Pharmaceutical Education, 77(6), 130.

Blocki, J., Komanduri, S., Cranor, L., & Datta, A. (2014). Spaced Repetition and Mnemonics Enable Recall of Multiple Strong Passwords. Retrieved from https://arxiv.org/abs/1410.1490

Böhmer, M., Hecht, B., Schöning, J., Krüger, A., & Bauer, G. (2011). Falling asleep with Angry Birds, Facebook and Kindle: A Large Scale Study on Mobile Application Usage. In 13th International Conference on Human Computer Interaction with Mobile Devices and Services (pp. 47-56). Stockholm: ACM.

Bower, J. V., & Rutson-Griffiths, A. (2016). The Relationship between the Use of Spaced Repetition Software with a TOEIC Word List and TOEIC Score Gains. Computer Assisted Language Learning, 29(7), 1238-1248.

Chukharev-Hudilainen, E., & Klepikova, T. A. (2016). The Effectiveness of Computer-Based Spaced Repetition in Foreign Language Vocabulary Instruction: A Double-Blind Study. Calico Journal, 33(3), 334-354.

Edge, D., Fitchett, S., Whitney, M., & Landay, J. (2012, September). MemReflex: Adaptive Flashcards for Mobile Microlearning. In Proceedings of the 14th international Conference on Human-computer Interaction with Mobile Devices and Services (pp. 431-440). California: ACM.

Giarratano, J. C., & Riley, G. (2004). Expert Systems: Principles and Programming (4th ed.). Course Technology.

GSM Association. (2019) Mobile Economic Impact Thailand. Retrieved January 19, 2020, from https://www. gsma.com/betterfuture/wp-content/uploads/2019/08/Mobile-Economic-Impact-2019-Thailand.pdf

Heckerman, D. (1992). The Certainty-Factor Model. Encyclopedia of Artificial Intelligence, 131-138.

Ozdamli, F., & Cavus, N. (2011). Basic Elements and Characteristics of Mobile Learning. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 28, 937-942.

Partnership for 21st Century Skills. (2009). P21 Framework Definitions. in A Framework for 21st Century Learning. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=ED519462.

Srinuan, C., Srinuan, P., & Bohlin, E. (2012). An Analysis of Mobile Internet Access in Thailand: Implications for Bridging the Digital Divide. Telematics and Informatics, 29(3), 254-262.

Wozniak, P. A. (1998). SuperMemo 2: Algorithm.

Wymbs, N. F., Bastian, A. J., & Celnik, P. A. (2016). Motor Skills Are Strengthened through Reconsolidation. Current Biology, 26(3), 338-343.